งานสัมมนา China – Japan Cooperation on the Eastern Economic Corridor of Thailandจัดขึ้น ณ กรุงเทพฯ

2018-05-31 21:53:47 | 2018-05-31 21:53:46  cri
Share with:

งานสัมมนา China – Japan Cooperation on the Eastern Economic Corridor of Thailandจัดขึ้น ณ กรุงเทพฯ

สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.) ร่วมกับสถานเอกอัครราชทูตสาธารณรัฐประชนจีนประจำประเทศไทยและสถานเอกอัครราชทูตญี่ปุ่นประจำประเทศไทย ได้จัดงานสัมมนาในหัวข้อ "China – Japan Cooperation on the Eastern Economic Corridor of Thailand" ณ โรงแรม เรเนซองส์ กรุงเทพฯ ราชประสงค์ ในวันที่ 31 พฤษภาคม 2561 โดยมีนายหนิง จี๋เจ๋อ รองประธานคณะกรรมาธิการเพื่อการปฏิรูปและพัฒนาสาธารณรัฐประชาชนจีน นายอุตตม สาวนายน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม และนายชิโระ ซะโดะชิมะ เอกอัครราชทูตญี่ปุ่นประจำประเทศไทยขึ้นกล่าวคำปราศรัย และนายหลู่ย์เจี้ยน เอกอัครราชทูตสาธารณรัฐประชาชนจีนประจำประเทศไทย ดร.คณิต แสงสุพรรณ เลขาธิการคณะกรรมการนโยบายการพัฒนาระเบียบเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC) รวมทั้งผู้แทนภาครัฐและภาคเอกชนรวม150คนเข้าร่วมงานด้วยกัน

นายหนิง จี๋เจ๋อ รองประธานคณะกรรมาธิการเพื่อการปฏิรูปและพัฒนาสาธารณรัฐประชาชนจีนกล่าวว่า จีนไทยเป็นบ้านใกล้เรือนเคียงที่ดี ประชาชนของเราทั้งสองผูกพันกันอย่างเหนียวแน่นดุจพี่น้องครอบครัวเดียวกัน 43ปีแห่งการสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตมานี้ สัมพันธไมตรีระหว่างจีนไทยยังคงแนวโน้มการพัฒนาที่ดียิ่งอยู่ตลอด ความร่วมมือด้านการค้า เศรษฐกิจ วิทยาศาสตร์เทคโนโลยี วัฒนธรรมและระดับประชาชนระหว่างสองประเทศประสบผลสำเร็จอย่างสมบูรณ์ ระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออกของไทยมีบทบาทสำคัญยิ่งในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของภูมิภาค ยกระดับอุตสาหกรรมและคุณภาพการพัฒนาประเทศ ผู้นำชั้นสูงของจีน ญี่ปุ่นและไทยต่างให้ความสำคัญกับความร่วมมือสามฝ่ายภายใต้โครงการอีอีซีเป็นอย่างมาก และเห็นตรงกันว่าความร่วมมือสามฝ่ายมีความหมายและศักยภาพสูงมาก สามประเทศสมควรเสริมสร้างการประสานงานและการแลกเปลี่ยนในเชิงนโยบายระหว่างหน่วยงานราชการมากขึ้น อำนวยความสะดวกและให้คำชี้แนะกับภาคเอกชน สนับสนุนให้วิสาหกิจและบริษัทของสามฝ่ายเริ่มความร่วมมือด้วยโครงการอันเป็นรูปธรรมและเสริมข้อได้เปรียบแก่กันเพื่อเอื้อประโยชน์ซึ่งกันและกัน

นายอุตตม สาวนายน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวว่า ประเทศไทยกำลังดำเนินนโยบายไทยแลนด์4.0อย่างเต็มกำลัง เพื่อพยายามปรับเปลี่ยนรูปแบบเศรษฐกิจไทยเป็นเศรษฐกิจใหม่ที่ขับเคลื่อนโดยนวัตกรรม กำลังการผลิตและเทคโนโลยี โครงการอีอีซีนับเป็นโครงการflagshipของนโยบายไทยแลนด์4.0 ที่ต้องพึ่งพาการสนับสนุนและตอบสนองจากสังคมโลกอย่างกว้างขวาง จีน ญี่ปุ่น ไทยมียุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศที่สอดรับกันในระดับสูง ความร่วมมือสามฝ่ายจะไม่เพียงส่งผลดีต่อสามประเทศนี้เท่านั้น หากจะนำไปสู่การพัฒนาของภูมิภาคอีกด้วย ฝ่ายไทยยินดีที่จะร่วมมืออย่างใกล้ชิดกับวิสาหกิจจีนและไทยภายใต้โครงการอีอีซี และพร้อมสนับสนุนและอำนวยความสะดวกแก่ความร่วมมือดังกล่าว

นายชิโระ ซะโดะชิมะ เอกอัครราชทูตญี่ปุ่นประจาประเทศไทยกล่าวว่า ใน 3 ทศวรรษที่ผ่านมา กว่า 5,000 กิจการของญี่ปุ่นได้ก่อตั้งขึ้นในประเทศไทย และโดยเฉพาะในพื้นที่ อีอีซี ก็มี1100กิจการญี่ปุ่นก่อตั้งที่นี่ และได้สร้างคุณูปการต่อเศรษกิจของไทยอย่างมาก รัฐบาลญี่ปุ่นจะสนับสนุนกิจการธุรกิจของบริษัทญี่ปุ่นในไทยอย่างต่อเนื่อง และยินดีเข้ามาลงทุนในพื้นที่อีอีซีของไทย นอกนั้นแล้ว ฝ่ายญี่ปุ่นพร้อมส่งเสริมความร่วมมือสามฝ่ายระหว่างภาคเอกชนของจีน ญี่ปุ่นและไทยอย่างเต็มที่ เพื่อร่วมสร้างสภาพแวดล้อมการลงทุนที่ดีต่อทุกฝ่าย

ในงานสัมนา นายคณิศ แสงสุพรรณ เลขาธิการคณะกรรมการนโยบายพัฒนาเขตพิเศษภาคตะวันออกได้แนะนำความคืบหน้าของการก่อสร้างพื้นที่อีอีซีโดยสังเขป โดยมีผู้แทนภาคเอกชนจากจีนและญี่ปุ่นให้ความสนใจอย่างมากและแสดงความคิดเห็นในประเด็นการลงทุน สาขาพื้นที่หลักและความเป็นไปได้ของความร่วมมือสามฝ่าย และเห็นพ้องกันว่าพื้นที่อีอีซีมีที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ที่ดีเลิศ ผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจสามารถแผ่ขยายไปถึงภูมิภาคอย่างทั่งถึง ส่วนจีน ญี่ปุ่นและไทยต่างมีข้อได้เปรียบของตน สมควรที่จะดำเนินความร่วมมือในรูปแบบอุตสาหกรรม+เทคโนโลยี+เงินทุน+ตลาด และหวังว่ารัฐบาลไทยจะให้การสนับสนุนทั้งในนโยบายส่งเสริมการลงทุน การเชื่อมโยงทางโครงสร้างพื้นฐานและทรัพยกรมนุษย์มากกว่าเดิม

00:00:00

  • เสียงข่าวประจำวัน (07-06-2565)

  • สานสัมพันธ์ไทย-จีน (07-06-2565)

  • เสียงคุยกันวันละประเด็น (07-06-2565)

  • เสียงข่าวประจำวัน (06-06-2565)

  • สานสัมพันธ์ไทย-จีน (06-06-2565)

系统管理员