40 ปี การเปลี่ยนแปลงของหมู่บ้านเสี่ยวกั่ง การพัฒนาของชนบทจีน (1)

2018-11-13 16:08:04 | CRI
Share with:

图片默认标题_fororder_小岗村1.JPG

ปีนี้ จีนดำเนินนโยบายการปฏิรูปและเปิดประเทศครบ 40 ปีแล้ว เมื่อพูดถึงเรื่องการปฏิรูประบบเศรษฐกิจจีน ควรเริ่มต้นจากการปฏิรูประบบที่ดินซึ่งเริ่มต้นจากหมู่บ้านเสี่ยวกั่ง อำเภอเฟิ่งหยาง มณฑลอันฮุย

เมื่อเร็วๆ นี้ สื่อมวลชนระดับชั้นนำของจีน รวมทั้งสำนักข่าวซินหวา หนังสือพิมพ์เหรินหมินรื่อเป้า สถานีโทรทัศน์ซีซีทีวี สถานีวิทยุซีอาร์ไอและสื่อมวลชนระดับประเทศและท้องถิ่น เดินทางไปเยือนหมู่บ้านเสี่ยวกั่ง เพื่อทบทวนกาลเวลา 40 ปีที่ผ่านมา  ได้มีการเปลี่ยนแปลงอะไรบ้างเกิดขึ้นในหมู่บ้านที่เคยขึ้นชื่อว่าเป็นหนึ่งในหมู่บ้านยากจนที่สุดของจีน

图片默认标题_fororder_小岗村2.JPG

เมื่อปี 1978 ชาวนา 18 คนในหมู่บ้านเสี่ยวกั่ง ร่วมกันคิดวิธีแบ่งที่ดินของส่วนรวมไปทำการเพาะปลูก  ไม่งั้นทั้งครอบครัวคงอดตาย แต่การแบ่งที่ดินส่วนรวมในสมัยนั้น ถือเป็นการกระทำผิดมหันต์ถึงขั้นต้องถูกจับเข้าคุก หรือเสี่ยงต่อการถูกประหารชีวิต แต่ชาวนา 18 คนนี้โชคดีมาก เพราะปีเดียวกัน มีการจัดการประชุมคณะกรรมการกลางพรรคคอมมิวนิสต์จีนชุดที่ 11 ครั้งที่ 3 ซึ่งเป็นการประชุมครั้งสำคัญในประวัติศาสตร์จีน โดยที่ประชุมประกาศนโยบายการปฏิรูปและเปิดประเทศ ชาวนาในหมู่บ้านเสี่ยวกั่งแทนที่จะถูกจับเข้าคุก กลับกลายเป็นผู้ริเริ่มการปฏิรูประบบที่ดินของจีน จนส่งผลต่อการปฏิรูประบบเศรษฐกิจทั่วประเทศ หมู่บ้านเสี่ยวกั่งจึงได้ชื่อว่าเป็นหมู่บ้านแห่งแรกที่ดำเนินการปฏิรูประบบที่ดินของจีน

นายเหยียน หงชาง วัย 69 ปี เป็นหนึ่งในชาวนา 18 คนที่พิมพ์ลายนิ้วมือบนสัญญาแบ่งที่ดินเมื่อ 40 ปีก่อน เขาเป็นผู้ร่างสัญญาที่มีเนื้อความว่า “พวกเราพิมพ์ลายนิ้วมือและเซ็นสัญญาแบ่งที่ดินให้กับแต่ละครอบครัวเพื่อทำการเพาะปลูก รับรองว่าจะมอบผลผลิตให้แก่ส่วนรวม ไม่ขอเงินขอข้าวจากรัฐอีกต่อไป หากทำไม่ได้ ยอมถูกประหารชีวิตหรือจำคุก ขอให้คนในหมู่บ้านช่วยเลี้ยงลูกให้โตจนครบ 18 ปี”

เหยียน หงชางหวนนึกถึงบรรยากาศการแอบเซ็นต์สัญญาแบ่งที่ดินเมื่อ 40 ปีก่อน เขากล่าวกับผู้สื่อข่าวว่า ตอนนั้นคิดในใจว่า หากถูกประหารชีวิตจริงๆ ยังไงก็ยังมีสัญญาฉบับนี้ให้ลูกทราบว่า ผมทำไม่ใช่เพื่อตัวเอง ผมทำเพื่อทุกคน ตอนนั้นอดอยากไม่มีข้าวกิน ต้องออกไปขอทานที่หมู่บ้านอื่น ถ้าขอไม่ได้ก็อดกิน

图片默认标题_fororder_小岗村3.JPG

เมื่อ 40 ปีก่อน หมู่บ้านเสี่ยวกั่งมี 20 ครัวเรือน รวม 115 คน มีที่ดิน 304 หมู่ (1 ไร่เท่ากับ 2.4 หมู่) ครอบครัวของเหยียน หงชางมี 6 คน ได้รับที่ดิน 18 หมู่

เฉพาะปีแรกของการแบ่งที่ดิน ชาวบ้านในหมู่บ้านเสี่ยวกั่งก็ไม่ต้องออกไปขอทานอีกแล้ว เพราะทั้งหมู่บ้านสามารถผลิตธัญญาหารได้ถึง 65,000 กิโลกรัม หลังจากมอบให้กับรัฐ 30,000 กิโลกรัมแล้ว ที่เหลือเก็บไว้กินเอง

แม้การเก็บเกี่ยวได้ผลดี และไม่ต้องห่วงเรื่องปากท้องอีก แต่เหยียน หงชางกับอีก 17 คนก็ยังคงมีความกังวล เพราะในช่วงเริ่มต้นของการปฏิรูประบบเศรษฐกิจจีน เรื่องการแบ่งที่ดินให้กับชาวนา ถูกวิพากษ์วิจารณ์ตลอด สัญญาที่มีการพิมพ์ลายนิ้วมือสีแดงฉบับนั้น เหยียน หงชางซ่อนไว้บนคานบ้านตลอด

图片默认标题_fororder_小岗村4.JPG

วันที่ 1 มกราคมปี 1982 รัฐบาลจีนประกาศเอกสารหมายเลข 1 เกี่ยวกับการปฏิรูปชนบท โดยระบุอย่างชัดเจนว่า การแบ่งที่ดินให้กับครอบครัวชาวนาเพื่อรับเหมาไปทำการเพาะปลูก เป็นระบบการผลิตของเศรษฐกิจส่วนรวมแห่งสังคมนิยม และเอกสารหมายเลข 1 ของรัฐบาลกลางในปีถัดมาระบุว่า ระบบการรับเหมาที่ดินถือเป็นการกระทำที่สร้างสรรค์อันยิ่งใหญ่ของเกษตรกรจีนภายใต้การนำของพรรคคอมมิวนิสต์ ปี 1984 รัฐบาลจีนออกนโยบายโดยกำหนดระยะเวลาของการดำเนินระบบรับเหมาที่ดินดังกล่าวเป็นเวลา 15 ปี จึงทำให้บรรดาเกษตรกรจีนหมดความกังวล

ระบบการแบ่งที่ดินให้กับครอบครัวชาวนาเพื่อทำการเพาะปลูก ถือเป็นก้าวแรกของการปฏิรูปชนบทจีน หลังจากครบ 15 ปีแล้ว ปี 2001 กฎหมายว่าด้วยการรับเหมาที่ดินชนบทของจีนกำหนดว่านโยบายเกี่ยวกับการใช้ที่ดินชนบทจะไม่เปลี่ยนแปลงภายในเวลา 30 ปี การรับเหมาที่ดินรอบที่ 2 นับจากปี 1999 ถึงปี 2028 อีกทั้งมีการเซ็นสัญญากับผู้รับเหมาที่ดินด้วย ซึ่งหมายความว่า เกษตรกรได้สิทธิ์ใช้ที่ดินเป็นเวลา 30 ปี ซึ่งจะนำไปสู่การเกษตรที่เชื่อมกับการตลาด นอกจากทำการเพาะปลูกแล้ว ยังสามารถเลี้ยงไก่และหมู ปลูกผักและผลไม้ได้

图片默认标题_fororder_小岗村5.JPG

Min/Bo

00:00:00

  • เสียงข่าวประจำวัน (07-06-2565)

  • สานสัมพันธ์ไทย-จีน (07-06-2565)

  • เสียงคุยกันวันละประเด็น (07-06-2565)

  • เสียงข่าวประจำวัน (06-06-2565)

  • สานสัมพันธ์ไทย-จีน (06-06-2565)

何喜玲