บทวิจารณ์: จีนท้วง ‘คีรอน สกินเนอร์’ อย่าทำให้อารยธรรมด่างพร้อย

2019-05-15 09:25:12 | CRI
Share with:

图片默认标题_fororder_文明对话1

เมื่อเร็ว ๆ นี้ นางคีรอน สกินเนอร์ ผู้อำนวยการฝ่ายนโยบายและโครงการ กระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ มีถ้อยแถลงอันน่าตกตะลึงว่า การปะทะระหว่างสหรัฐฯ และจีนเป็น “การต่อสู้ระหว่างความแตกต่างทางอารยธรรมและระหว่างอุดมคติที่ต่างกันอย่างสิ้นเชิง” คำกล่าวดังกล่าวทำให้เกิดกระแสวิพากษ์วิจารณ์อย่างมากมายทั้งในและนอกสหรัฐฯ ผู้เชี่ยวชาญหลายคนเห็นว่า คำพูดของนางคีรอน สกินเนอร์ เป็นคำพูดที่แสร้งปล่อยข่าวลือเขย่าขวัญ เพื่อเรียกเสียงสนับสนุนให้ “อารยธรรม” มีจุดต่างพร้อย ทำให้วงการการเมืองและวงการวิชาการของสหรัฐฯ ตกอยู่ในฐานะลำบากใจ และทำให้กระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ ตกเป็นที่น่าหัวเราะเยาะในเวทีสากล

คำพูดดังกล่าวของนางคีรอน สกินเนอร์ อ้างอิงจาก “ทฤษฎีการปะทะทางอารยธรรม” ของนายซามูเอล ฟิลลิป ฮันทิงตัน  นักรัฐศาสตร์จากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ทฤษฎีดังกล่าวกล่าวถึง  “มหาอำนาจใหญ่ทางวัฒนธรรม” ซึ่งได้รับการวิพากษ์วิจารณ์จากวงการวิชาการระหว่างประเทศ อย่างไรก็ตาม “ทฤษฎีการปะทะทางอารยธรรม” ไม่ได้มุ่งส่งเสริมการปะทะระหว่างอารยธรรม หากแต่เตือนให้ฝ่ายตะวันตกอย่าใช้อารยธรรมตะวันตกไปปรับอารยธรรมที่ไม่ใช่ตะวันตก สิ่งที่นายซามูเอล ฮันทิงตัน เสนอคือ การเจรจา การปรับความเข้าใจ และการร่วมมือระหว่างอารยธรรมที่ต่างกัน รวมถึงการสร้างระเบียบโลกที่มีความหลากหลายทางอารยธรรม มิใช่เพียงอารยธรรมเดียว

图片默认标题_fororder_文明对话3

ส่วนนางคีรอน สกินเนอร์ จับใจความบางตอนของทฤษฎีดังกล่าวนำมาอ้างอิงด้วยเจตนาร้ายแอบแฝง หากไม่ใช่เป็นผู้ขาดความรู้ ก็ต้องเป็นผู้มีขาดความละอายใจ อารยธรรมนั้นไม่มีการปะทะกันแต่อย่างใด ผู้ที่หมายจะสร้างการปะทะในนามของอารยธรรม ย่อมจะถูกผู้ชื่นชอบอารยธรรมและผู้รักสันติภาพประณามอย่างแน่นอน

(TIM/LING/CICI)

 

00:00:00

  • เสียงข่าวประจำวัน (07-06-2565)

  • สานสัมพันธ์ไทย-จีน (07-06-2565)

  • เสียงคุยกันวันละประเด็น (07-06-2565)

  • เสียงข่าวประจำวัน (06-06-2565)

  • สานสัมพันธ์ไทย-จีน (06-06-2565)

何喜玲