ไอ. เอ็ม. เพ – สถาปนิกชื่อก้องโลก ใช้เวลาทั้งชีวิตเพื่อแสวงหาความสมบูรณ์แบบ 3

2019-09-04 11:32:37 | ไชน่ามีเดียกรุ๊ป
Share with:

图片默认标题_fororder_1

เมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม 2019 สถาปนิกชื่อดัง "ไอ. เอ็ม. เพ" เสียชีวิตในวัย 102 ปี  เขาเป็นสถาปนิกที่ดังมาก เป็นผู้ออกแบบพีรามิดลูฟวร์ ทางเข้าพิพิธภัณฑ์ลูฟวร์ ใจกลางกรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส ซึ่งเป็นแลนด์มาร์คสำคัญในยุคปัจจุบันของฝรั่งเศส ไอ. เอ็ม. เพ เกิดที่นครกว่างโจว มณฑลกวางตุ้ง ประเทศจีน เติบโตในฮ่องกงและเซี่ยงไฮ้ พออายุ 18 ปี เขาได้ย้ายไปอยู่ที่สหรัฐอเมริกา เป็นชาวอเมริกันเชื้อสายจีน เขาเคยมีโอกาสศึกษาวิชาความรู้กับสถาปนิกแนวหน้าของโลก และได้ใช้ความฉลาดของเขาในการสร้างสรรค์ผลงาน ซึ่งหนึ่งในผลงานที่นับว่ามีชื่อเสียงอีกชิ้นหนึ่งของเขานั่นก็คือการออกแบบห้องสมุดเคนเนดี โดยใช้เวลาในการก่อสร้างนานถึง 15 ปี สร้างเสร็จในปี 1979 และได้รับการยกย่องว่าเป็นหนึ่งในผลงานชิ้นเอกที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรมอเมริกัน ชุมชนสถาปัตยกรรมอเมริกันยังประกาศว่าปี 1979 เป็น "ปีไอ. เอ็ม. เพ” และมอบรางวัลเหรียญทองของสถาบันสถาปัตยกรรมสหรัฐให้กับเขา

图片默认标题_fororder_微信图片_20190522165527

ไอ. เอ็ม. เพ เริ่มมีชื่อเสียงตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา ติดอันดับสถาปนิกชั้นนำของโลก จำนวนลูกค้าที่อยากจะใช้บริการของไอ.เอ็ม.เพ บินเข้าไปในสำนักงานของเขาเหมือนเกล็ดหิมะ เขากลับมาประเทศจีนเป็นครั้งแรกหลังจบการศึกษาในปี 1974 ซึ่งเขาได้ออกแบบโรงแรมเซียงซาน ต่อมาอีก 15 ปี เขากลับมาที่จีนอีกครั้ง และได้ออกแบบ แบงค์ออฟไชน่าทาวเวอร์ ซึ่งเป็นตึกระฟ้าชื่อดังอันเป็นสัญลักษณ์ของฮ่องกง และในช่วงปลายคริสตทศวรรษ 1980 เขาถูกวิพากษ์วิจารณ์ผลงานการออกแบบพีรามิดลูฟวร์ ในลานด้านหน้าพิพิธภัณฑ์ลูฟวร์ กรุงปารีส ในขณะที่เสียงวิพากษ์วิจารณ์ยังไม่ซา เขาได้ออกแบบ มอร์ตัน เอช. เมเยอร์สัน ซิมโฟนี ในดัลลาส(The Morton H Meyerson Symphony Center)สหรัฐ , พิพิธภัณฑ์มิโฮในญี่ปุ่น(Miho Museum)และพิพิธภัณฑ์ศิลปะอิสลาม (โดฮา) ในกาตาร์

图片默认标题_fororder_微信图片_20190522165535

ไอ เอม เพ ได้รับรางวัลหลายรางวัลในสาขาสถาปัตยกรรม เช่น รางวัลเหรียญทองเอไอเอในปี 1979, รางวัลพรีเมียมอิมพีเรียลสาขาสถาปัตยกรรมในปี 1989 และรางวัลความสำเร็จสูงสุด จากพิพิธภัณฑ์ออกแบบแห่งชาติ คูเปอร์-ฮิววิตต์ ในปี 2003 และเคยได้รับรางวัลสูงสุดในวงการสถาปัตยกรรม รางวัลพริตซ์เกอร์ ในปี 1983

อย่างไรก็ตาม ผลงานของไอ. เอ็ม. เพ ที่เป็นที่รู้จักกันดีที่สุด น่าจะรวมถึงโครงการซ่อมพิพิธภัณฑ์ลูฟวร์ในกรุงปารีส การขยายทางใต้ดิน พีรามิดคริสตัล เป็นหนึ่งในหลาย ๆ รูปแบบที่นำเสนอวิสัยทัศน์ 'อนาคต' ออกมา หลังจากเสร็จสิ้นใน 1989 พีระมิดได้รับการยอมรับในช่วงหลายปีและได้รับการยกย่องว่าเป็นหนึ่งในโครงการที่โดดเด่นที่สุดของเขา

图片默认标题_fororder_微信图片_20190522165542

ปี1981 พิพิธภัณฑ์ลูฟวร์ล้าสมัยเพราะร่องรอยแห่งกาลเวลา เกือบทุกอย่างถูกปกคลุมไปด้วยฝุ่น ไม่สามารถรองรับนักท่องเที่ยวจำนวนมากในแต่ละวันได้ และมีทางเดินเหมือนเขาวงกต ทำให้ผู้คนหลงทางเป็นประจำ นอกจากนี้ยังมีข้อจำกัดในการใช้พื้นที่อีกหลายส่วน ซึ่งเมื่อกันยายนปีเดียวกัน ประธานาธิบดีฝรั่งเศสในเวลานั้น คือฟร็องซัว มีแตร็อง ประกาศแผนฟื้นฟูและขยายพิพิธภัณฑ์ลูฟวร์ นี่ถือว่าเป็นโครงการแห่งศตวรรษของฝรั่งเศส ในเวลานั้นไอ. เอ็ม. เพอายุ 60 ปี ได้ขึ้นปกของนิตยสารไทม์แล้ว และได้รับรางวัลมากมาย ถือว่ามีชื่อเสียงอยู่แล้ว

การซ่อมแซมพิพิธภัณฑ์ลูฟวร์เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการฟื้นฟูวัฒนธรรมฝรั่งเศส และยังสร้างคะแนนเสียงให้กับ ปธน.มีแตร็องในสมัยนั้น ทำให้ประธานาธิบดีมีแตร็องให้ความสำคัญมาก ตอนนั้นมีคำถามว่าใครจะเป็นผู้วางแผนการซ่อมแซมและการขยายลูฟวร์ครั้งใหญ่นี้?ชื่อของ ไอ. เอ็ม. เพปรากฏขึ้นอีกครั้ง ทำไมต้องเป็น ไอ เอ็ม เพ หนังสือ” The Battle of the New Louvre” (ลูฟวร์) เขียนโดย Jack Lang อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรมของฝรั่งเศสได้บันทึกเรื่องราวในตอนนั้น ย้อนกลับไปในปี 1970 มีแตร็องในฐานะหัวหน้าพรรคฝรั่งเศสเดินทางไปเยือนสหรัฐ ชื่นชอบอาคารตะวันออกของหอศิลป์แห่งชาติวอชิงตัน ดี.ซี.  ที่ออกแบบโดยไอ. เอ็ม. เพ

เมื่อ 22 มิถุนายน 1983 ประธานาธิบดีมีแตร็องกับไอ. เอ็ม. เพ ได้มีการพบกันครั้งประวัติศาสตร์โดยไอ. เอ็ม. เพได้อธิบายแนวคิดการออกแบบของพิพิธภัณฑ์ลูฟวร์ และประธานาธิบดีมีแตร็องกล่าวว่า ลูฟวร์นั้นเดิมเป็นพระราชวังของฝรั่งเศส ตอนนี้ใช้เป็นพิพิธภัณฑ์ก็จะรู้สึกยุ่งมากขึ้น การซ่อมแซมต้องการแก้ไขปัญหาเหล่านี้ เลยถามไอ. เอ็ม. เพว่ามีวิธีที่ดีหรือเปล่า

ไอ. เอ็ม. เพอธิบายอย่างละเอียด เขาเน้นไปที่บทบาทของ "แสง" เป็นพิเศษ กล่าวว่าจำเป็นต้องมีฝาครอบแก้วบนพื้นดิน จึงเพิ่มการใช้แสงให้มากที่สุด แม้แต่ห้องใต้ดินก็ยังสามารถดูสว่างไสว ประธานาธิบดีมีแตร็องรู้สึกว่าแผนการนี้มีความเป็นไปได้ จึงให้ไอ. เอ็ม. เพ เริ่มงานออกแบบ

Bo/Patt

00:00:00

  • เสียงข่าวประจำวัน (07-06-2565)

  • สานสัมพันธ์ไทย-จีน (07-06-2565)

  • เสียงคุยกันวันละประเด็น (07-06-2565)

  • เสียงข่าวประจำวัน (06-06-2565)

  • สานสัมพันธ์ไทย-จีน (06-06-2565)

韩希