PM2.5 (3)

2019-09-18 11:12:53 | CRI
Share with:

图片默认标题_fororder_1-1

ย้อนไปในเดือนตุลาคม ปี 2010  องค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติของสหรัฐฯ หรือ NASA ได้เผยแพร่แผนที่คุณภาพอากาศทั่วโลกแสดงให้เห็นถึงพื้นที่สีแดง ซึ่งหมายถึง PM 2.5 ความเข้มข้นสูง ปกคลุมพื้นที่ส่วนมากของจีน โดยเฉพาะทางทิศตะวันออก  ชาวจีนจึงเริ่มตื่นตัวกับ PM 2.5 ในวงกว้าง 

ปัญหา PM 2.5 ทำให้จีนประกาศภาวะฉุกเฉินด้านสิ่งแวดล้อมอยู่บ่อยครั้ง ปัญหา PM2.5 นั้นส่งผลให้เที่ยวบินล่าช้า หรือ ต้องยกเลิกการเดินทาง ทางด่วนต้องปิดให้บริการ และรถยนต์หยุดเดินรถ หรือแม้กระทั่งรถโดยสารประจำทางบางสายก็ต้องหยุดวิ่ง ไปจนถึงโรงเรียนต้องหยุดทำการเรียนการสอน นอกจากนี้  เด็ก ๆ ที่เป็นโรคปอดอักเสบยังมีจำนวนเพิ่มสูงขึ้น ขณะที่ผู้ป่วยโรคไอเรื้อรังก็มีเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง

การที่ประชาชนต่างใช้ชีวิตในม่านหมอกที่ปกคลุมไปด้วยฝุ่นควัน และจำเป็นต้องสวมหน้ากากอนามัยเวลาอยู่บนท้องถนนจนดูเหมือนเป็นเรื่องปกติ  ความเคยชินนี้เองทำให้หลายคนมองว่า  ปัญหาหมอกควันพิษดูไม่น่าเป็นข่าวเด่นประเด็นร้อนอะไร แต่การไม่มีหมอกควันดูเป็นเรื่องน่าตื่นเต้นเสียมากกว่า

PM 2.5 ไม่เพียงแต่ส่งผลกระทบต่อชีวิตประจำวันของเราเท่านั้น หากยังสร้างความเสียหายอย่างหนักหนาสาหัสอีกด้วย

มีรายงานว่า  เฉพาะปี 2010 ปีเดียว มลพิษทางอากาศทำให้จีนมีความเสียหายคิดเป็นเงินจำนวนถึง 1.4 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ทีเดียว

ส่วนในด้านการรับมือกับ PM 2.5 มณฑลกว่างตงได้เริ่มใช้ปฏิบัติการก่อนพื้นที่อื่นของจีน เพราะว่า สถานการณ์ฝุ่น PM 2.5 ในดินดอนสามเหลี่ยมแม่น้ำจูเจียงค่อนข้างร้ายแรง

ปี 2014  ดินดอนสามเหลี่ยมแม่น้ำจูเจียงได้จัดตั้งเขตสาธิตเทคโนโลยีป้องกันและควบคุมมลพิษทางอากาศ ซึ่งถือว่าเป็นเขตสาธิตเทคโนโลยีดังกล่าวแห่งที่ 3 ของโลก รองจากสหภาพยุโรป และรัฐแคลิฟอร์เนีย ทางตอนใต้ของสหรัฐฯ

รัฐบาลท้องถิ่นร่วมมือกับกระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี  สถาบันวิจัย และทีมงานผู้เชี่ยวชาญ  ทำการศึกษาค้นคว้าวิธีการต่าง ๆ ที่มีประสิทธิภาพในการป้องกันและควบคุม PM2.5 ในพื้นที่ดินดอนสามเหลี่ยมแม่น้ำจูเจียง  เดือนสิงหาคมปี 2017 ศูนย์อากาศสะอาดและสดชื่นแห่งเอเชีย ซึ่งเป็นองค์กรอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมระหว่างประเทศออกรายงานฉบับหนึ่ง ชื่นชมวิธีการระดมพลังจากฝ่ายต่าง ๆ ในการร่วมป้องกันและควบคุม PM2.5 ในพื้นที่ดินดอนสามเหลี่ยมแม่น้ำจูเจียง

ในที่ประชุมสองสภาประจำปี 2012 ได้มีการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับ PM 2.5 ในรายงานผลการดำเนินงานของรัฐบาลจีนเป็นครั้งแรก ในรายงานดังกล่าว รัฐบาลจีนได้จัดกรุงปักกิ่ง นครเทียนจิน  มณฑลเหอเป่ย ดินดอนสามเหลี่ยมแม่น้ำแยงซี และดินดอนสามเหลี่ยมแม่น้ำจูเจียง เป็นพื้นที่แรกของประเทศในการตรวจวัดระดับ PM 2.5 และแก้ไขปัญหาหมอกควันพิษ

图片默认标题_fororder_2-2

รัฐบาลจีนประกาศมาตรฐานคุณภาพอากาศ โดยจัด PM 2.5 ให้อยู่ในระบบการประเมินคุณภาพอากาศเป็นประจำอย่างเป็นทางการตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ ปี 2012  แต่มีการเรียกร้องให้แก้ไขปัญหาดังกล่างอย่างเร่งด่วนขนานใหญ่ทั่วประเทศตั้งแต่ ปี 2013 ยุทธศาสตร์ในการป้องกันและควบคุม PM 2.5 ของจีน คือ รัฐบาลเป็นผู้กำหนดแนวทาง ธุรกิจเป็นผู้ปฏิบัติ และประชาชนเป็นผู้กำกับดูแล โดยรัฐบาลใช้วิธีการหลากหลายในการพัฒนาเศรษฐกิจหมุนเวียน ทั้งการทำให้สาธารณชนเกิดความตระหนัก การใช้มาตรการจูงใจทางการเงินแก่บริษัทต่าง ๆ รวมทั้งธุรกิจขนาดกลางและย่อม ตลอดจนการออกกฎหมาย 

จีนประกาศใช้กฎหมายว่าด้วยการป้องกันและควบคุมมลพิษทางอากาศ ตั้งแต่เมื่อวันที่ 1 มิถุนายน ปี 1988  ต่อมาได้ปรับปรุงแก้ไขอีกครั้งหนึ่งในเดือนตุลาคมปี 2018

จีนประกาศใช้แผนปฏิบัติการเพื่อป้องกันและควบคุมมลพิษทางอากาศ ตั้งแต่เดือนกันยายนปี 2013 ประกอบด้วยนโยบาย 10  ประการ ที่มีเป้าหมายปรับปรุงคุณภาพอากาศในกรุงปักกิ่ง นครเทียนจิน  มณฑลเหอเป่ย ดินดอนสามเหลี่ยมแม่น้ำแยงซี และดินดอนสามเหลี่ยมแม่น้ำจูเจียง ให้ดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัดภายในปี 2017

ต่อมาในปี 2014 จีนตั้งเป้าให้ทุกเมืองลดความเข้มข้นของ PM 2.5 ลงให้ได้ 10% โดยห้ามสร้างโรงไฟฟ้าพลังถ่านหินแห่งใหม่ในพื้นที่ที่มีมลพิษทางอากาศรุนแรง และปรับปรุงให้โรงงานต่าง ๆ ลดการปล่อยมลพิษตามเมืองใหญ่ ซึ่งรวมถึงกรุงปักกิ่ง นครเซี่ยงไฮ้ และเมืองกว่างโจว เป็นต้น นอกจากนี้ ยังมีควบคุมจำนวนรถยนต์บนท้องถนนอย่างเข้มงวด พร้อมกับการลดปริมาณการผลิตเหล็กและเหล็กกล้า และปิดเหมืองถ่านหินอีกจำนวนหนึ่ง

ในช่วงระยะเวลา 4 ปี ระหว่างปี 2013 - 2017 จีนใช้งบประมาณการคลังหลายหมื่นล้านหยวนในการพัฒนาพลังงานสะอาด ควบคุมปริมาณการบริโภคถ่านหิน รวมไปถึงปรับปรุงอุตสาหกรรมการผลิตปิโตรเคมีอย่างเอาจริงเอาจังเพื่อคุ้มครองประชาชน

00:00:00

  • เสียงข่าวประจำวัน (07-06-2565)

  • สานสัมพันธ์ไทย-จีน (07-06-2565)

  • เสียงคุยกันวันละประเด็น (07-06-2565)

  • เสียงข่าวประจำวัน (06-06-2565)

  • สานสัมพันธ์ไทย-จีน (06-06-2565)

何喜玲