180 ปีสงครามฝิ่น (1)

2020-08-20 17:12:12 | CRI
Share with:

ตรุษจีนปี ค.ศ. 2020 ตรงกับวันที่ 25 มกราคม นับจากวันดังกล่าวก็ได้เข้าสู่ปีชวด ปีชวดปีนี้ชาวจีนเรียกว่า “เกิงจื่อเหนียน” (庚子年) ซึ่งตามจันทรคติจีนทุก 60 ปีจะมีปี “เกิงจื่อเหนียน” หนึ่งปี เช่น ปี ค.ศ. 1840, ปี ค.ศ. 1900, ปี ค.ศ.1960 และ ปี ค.ศ. 2020 เป็น “เกิงจื่อเหนียน” ในปีดังกล่าวมักจะเกิดเหตุการณ์ต่างๆ ที่บันทึกไว้ในประวัติศาสตร์ วันนี้ขอเสนอเรื่องราวเกี่ยวกับสงครามฝิ่น (Opium War) ซึ่งเกิดขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 1840 เมื่อ 180 ปีก่อน เพื่อทบทวนประวัติศาสตร์ช่วงที่จีนเป็นประเทศด้อยพัฒนา และสานฝันแห่งประเทศจีนในการสร้างความเจริญรุ่งเรืองขึ้นใหม่ให้เป็นจริงขึ้น

180 ปีสงครามฝิ่น (1)_fororder_P1

สงครามฝิ่น ฝ่ายอังกฤษเรียกว่า “ส่งครามอังกฤษ-จีนครั้งแรก” หรือ “สงครามเพื่อทำการค้าขาย” เป็นสงครามรุกรานที่อังกฤษก่อขึ้นกับจีน และเป็นจุดเริ่มต้นของประวัติศาสตร์ยุคใกล้ของจีน (China modern history, 1840-1949)

ข้อมูลจากอังกฤษที่เกี่ยวข้องกับ “ส่งครามอังกฤษ-จีนครั้งแรก” หรือ “สงครามเพื่อทำการค้าขาย” คือ สงครามฝิ่น ระบุว่า สงครามนี้เกี่ยวข้องกับดุลการค้าระหว่างอังกฤษกับจีน

ก่อนสงครามครั้งนี้ ประเทศจีนในสมัยราชวงศ์ชิงส่งออกสินค้าประเภทใบชา ผ้าไหม และเครื่องเคลือบไปยังอังกฤษจำนวนมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ใบชาราคาถูก สามารถเข้าสู่บ้านสามัญชนได้ สถิติทางการค้าที่เกี่ยวข้องระบุว่า ปี ค.ศ. 1830 อังกฤษนำเข้าใบชาจากจีนจำนวน 30,000,000 ปอนด์ พอมาถึงปี ค.ศ.1840 พุ่งสูงขึ้นถึง 50,000,000 ปอนด์ (1 ปอนด์ราว 0.45 กิโลกรัม,1b=0.4535924kg) ขณะที่อังกฤษไม่มีสินค้าใดๆ ที่สามารถส่งออกไปยังจีนได้ ถือว่าจีนเกินดุลการค้าก้อนมหึมาจากอังกฤษ

180 ปีสงครามฝิ่น (1)_fororder_P2

เพื่อพลิกสถานการณ์ อังกฤษได้คิดวิธีมากมาย เช่น การปลูกต้นชาเอง (แทนที่การนำเข้าใบชาจากจีน) การส่งออกสิ่งทอ เช่น ผ้าลายสองที่ทอด้วยเครื่องจักร ฝ้าย ตลอดจนฝิ่นที่ปลูกและแปรรูปในอินเดีย ผลปรากฏว่า สิ่งที่สำเร็จตามเป้าที่ตั้งไว้คือ ส่งออกฝิ่นไปยังจีน

การที่ฝิ่นเข้าสู่จีนนั้น ได้รับการตอบรับที่ดี ราคาไม่ค่อยผันผวน ยอดจำหน่ายก็ปรับตัวสูงขึ้นตลอด นับจากนั้นมา การขาดดุลการค้าของอังกฤษที่เป็นเวลานานก็หันกลับมาดีขึ้น สถิติระบุว่า ช่วงก่อนสงครามฝิ่น ยอดการค้าจีน-อังกฤษในปี ค.ศ.1838 อังกฤษกลับเป็นฝ่ายเกินดุลการค้าจีนเป็นเงิน 9,000,000 หยวน

ฝิ่นทำลายวิถีชีวิตดั้งเดิมตั้งแต่ระดับชาวบ้านไปจนถึงระดับข้าราชสำนัก การที่มนุษย์ที่ถูกมอมเมา ทำให้จีนเสียดุลการค้า เรื่องดุลการค้าดังกล่าวจึงเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดสงครามฝิ่นในปี ค.ศ.1840

(TIM/LING)

00:00:00

  • เสียงข่าวประจำวัน (07-06-2565)

  • สานสัมพันธ์ไทย-จีน (07-06-2565)

  • เสียงคุยกันวันละประเด็น (07-06-2565)

  • เสียงข่าวประจำวัน (06-06-2565)

  • สานสัมพันธ์ไทย-จีน (06-06-2565)

许平平