180 ปีสงครามฝิ่น (3)

2020-10-19 16:55:46 | ไชน่ามีเดียกรุ๊ป
Share with:

180 ปีสงครามฝิ่น (3)_fororder_P3.1

เรามาดูชนวนสงครามฝิ่น ปี ค.ศ.1840 (ปีรัชกาลที่ 20 จักรพรรดิเต้ากวาง) รัฐบาลอังกฤษใช้ข้ออ้างว่า จีนเผาทำลายฝิ่นที่เมืองหู่เหมิน (Destruction of opium at Humen) มณฑลกว่างตง ซึ่งเกิดขึ้นก่อนหน้านี้ 1 ปี จึงมีมติยกทัพมารุกรานจีน เดือนมิถุนายนปีเดียวกัน เรือรบกองทัพอังกฤษ 47 ลำพร้อมทหารบก 4,000 นาย เดินทางมาถึงบริเวณนอกปากแม่น้ำจูเจียง มณฑลกว่างตง ทำการปิดล้อมทางทะเล และส่งเรือรบยิงถล่มบริเวณแม่น้ำจูเจียง ถือเป็นการเริ่มต้นสงคราม

ผลการสู้รบปรากฏว่า จีนแพ้อังกฤษ และต้องชำระค่าปฏิกรรมสงครามและยกที่ดินให้อังกฤษ ตามสนธิสัญญาหนานจิงระหว่างจีนกับอังกฤษ ซึ่งลงนามวันที่ 29 สิงหาคม ปี ค.ศ.1842 โดยกำหนดว่า

1. ยกเกาะฮ่องกงให้อังกฤษ (จีนสูญเสียอธิปไตยเหนือดิน)

2. เปิดกว่างโจว เซี่ยเหมิน ฝูโจว หนิงโป และเซี่ยงไฮ้ให้เป็นเมืองท่าค้าขาย อนุญาตให้ชาวอังกฤษตั้งสถานกงสุลในเมืองท่าที่ทำการค้าขาย (จีนสูญเสียอธิปไตยทางการค้า)

3. จีนชำระค่าปฏิกรรมสงครามแก่อังกฤษจำนวน 21,000,000 หยวน เงินดังกล่าวประกอบด้วยค่ายาฝิ่น 600,000 หยวน หนี้สินทางการค้ากับนักธุรกิจอังกฤษ 300,000 หยวน และงบประมาณทหารแก่กองทัพอังกฤษ 12,000,000 หยวน (เงินทองของจีนไหลสู่เมืองนอกก้อนมหึมา)

4. การเก็บภาษีสินค้านำเข้า-ส่งออกในจีนของอังกฤษ จีนต้องร่วมหารือกับอังกฤษก่อน (จีนสูญเสียอธิปไตยด้านภาษีศุลกากร)

5. นักธุรกิจสามารถทำการค้าขายกับนักธุรกิจจีนอย่างเสรี ไม่ต้องถูกจำกัดจาก “กงหาง” หรือ “หน่วยงานทางหลวง” (ระบบผูกขาดตามเมืองค้าขายสำคัญของจีนได้ถูกทำลายลง, จีนสูญเสียอธิปไตยด้านการค้า)

180 ปีสงครามฝิ่น (3)_fororder_P3.2

สนธิสัญญาหนานจิงระหว่างจีนกับอังกฤษเป็นสนธิสัญญาที่ไม่เสมอภาคเท่าเทียมกันฉบับแรกในประวัติศาสตร์จีน หลังจากนั้น ยังมีการลงนามสนธิสัญญาที่ไม่เสมอภาคเท่าเทียมกันอีกหลายฉบับ เช่น สนธิสัญญากับสหรัฐ ฝรั่งเศส เบลเยี่ยม และสวีเดน เป็นต้น จีนเริ่มยกที่ดิน ชำระค่าปฏิกรรมสงคราม และร่วมกำหนดภาษีศุลกากรกับต่างประเทศ ถือเป็นการทำลายอธิปไตยของจีนอย่างร้ายแรง พร้อมกันนี้ สงครามฝิ่นยังถือเป็นจุดเริ่มต้นประวัติศาสตร์การต่อต้านการรุกรานของต่างชาติในยุคใกล้

สนธิสัญญาที่ไม่เสมอภาคดังกล่าว ทำให้อธิปไตยของจีนถูกทำลายมากขึ้น ทำให้จีนเริ่มตกทุกข์ได้ยากมากขึ้น ประชาชนจีนต้องต่อสู้อย่างทรหดอดทนกว่าเดิม

การแพ้สงครามฝิ่น ทำให้ชาวจีนรู้จักโลกมากขึ้น มีวิสัยทัศน์ต่อโลกมากขึ้น เริ่มหาทางสร้างประเทศให้เข้มแข็งเพื่อต่อต้านการรุกรานจากต่างชาติ เริ่มหันไปเรียนรู้กับโลกตะวันตก เพื่อนำมาใช้พัฒนาประเทศ

มีข้อสังเกตประการหนึ่งคือ ถึงสงครามจะจบไปแล้ว แต่ภายในทศวรรษที่ 19 คนจีนไม่น้อยกว่า 13 ล้านชีวิตที่ยังคงติดฝิ่นอยู่ เศรษฐกิจจีนถูกทำลายลงอย่างย่อยยับ และราชวงศ์ชิงก็เข้าสู่สภาวะแห่งการล่มสลายในช่วงเวลานั้น

การลงนามสัญญาหนานจิงระหว่างจีนกับอังกฤษ โดยเปิดเสรีกว่างโจว ฝูโจว เซี่ยเหมิน หนิงโป และเซี่ยงไฮ้ให้เป็นเมืองท่าที่ทำการค้าขาย ประเทศต่างๆ ก็เริ่มตั้งสถานกงสุลในเมืองเหล่านี้ มีต่างชาติมาพำนักและค้าขายในเมืองเหล่านี้มากขึ้น สถาปัตยกรรมแบบตะวันตกยังคงมีให้เห็นในเมืองเหล่านี้ เช่น สถาปัตยกรรมแบบตะวันตกในเขตซาเมี่ยนของเมืองกว่างโจว ในเกาะกู่ล่างอี่ว์ของเมืองเซี่ยเหมิน และในเขตว่ายทานของนครเซี่ยงไฮ้ สถาปัตยกรรมแบบตะวันตกดังกล่าวล้วนมีประวัติเก่าแก่กว่าร้อยปี และเป็นแหล่งท่องเที่ยวยอดนิยมในปัจจุบัน

จากปี “เกินจื่อเหนียน” ปีชวด ปี ค.ศ.1840 มาถึงปี “เกินจื่อเหนียน” ปีชวด ปี ค.ศ.2020 ในปีนี้ เวลาผ่านไป 180 ปี สถานการณ์โลกเกิดการเปลี่ยนแปลงไปมาก จีนทำการต่อสู้อย่างทรหดอดทนมาเป็นเวลา 180 ปี สามารถสร้างความเจริญรุ่งเรืองและความเข้มแข็งเกรียงไกรยิ่งขึ้นในทุกวันนี้ มองวิสัยทัศน์สากลจากมุมกว้าง จีนเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาและสันติภาพของโลก จนเป็นที่ชื่นชมของประชาคมโลกมากขึ้นทุกวัน

(TIM/LING)

00:00:00

  • เสียงข่าวประจำวัน (07-06-2565)

  • สานสัมพันธ์ไทย-จีน (07-06-2565)

  • เสียงคุยกันวันละประเด็น (07-06-2565)

  • เสียงข่าวประจำวัน (06-06-2565)

  • สานสัมพันธ์ไทย-จีน (06-06-2565)

晏梓