บทวิเคราะห์ : จีนส่งเสริมการกระจายวัคซีนโควิด-19 ทั่วโลกอย่างเป็นธรรมตามคำมั่นสัญญา

2020-10-23 18:23:50 | CRI
Share with:

บทวิเคราะห์: จีนส่งเสริมการกระจายวัคซีนโควิด-19 ทั่วโลกอย่างเป็นธรรมตามคำมั่นสัญญา_fororder_1603448504(1)

หลายวันมานี้ ข่าวจีนเข้าร่วมโครงการ COVAX เรียกความสนใจจากสื่อมวลชนทั่วโลกและได้รับคำชื่นชมจากประชาคมโลก จีนมีวัคซีนโควิด-19 ทั้งหมด 4 ตัวเข้าสู่ขั้นตอนการทดลองทางคลินิก ระยะที่ 3 และมีความสามารถในการผลิตรวมถึงกระจายวัคซีนในประเทศได้อย่างเพียงพอจึงตัดสินใจเข้าร่วมโครงการ COVAX ที่องค์การอนามัยโลก (WHO) และองค์กรพันธมิตรเพื่อวัคซีน (GAVI) ร่วมกันก่อตั้งขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการจัดสรรวัคซีนอย่างเท่าเทียมทั่วโลกและประกันให้ประเทศกำลังพัฒนาสามารถเข้าถึงวัคซีนได้ ขณะเดียวกัน ยังนำประเทศที่มีความสามารถมากขึ้นเข้าร่วมและสนับสนุนโครงการฯ  จีนแสดงให้เห็นด้วยการกระทำว่า ในด้านการส่งเสริมวัคซีนให้เป็นสินค้าสาธารณะระดับโลก การปรับปรุงความสามารถในการเข้าถึงวัคซีน และความสามารถในการจัดสรรวัคซีน จีนทำได้อย่างที่กล่าวไว้

ตามรายงานคาดว่า โครงการ COVAX จะจัดหาวัคซีนโควิด-19 ที่ปลอดภัยและมีประสิทธิผลอย่างน้อย 2 พันล้านโดสแก่ทั่วโลกภายในสิ้นปี ค.ศ. 2021 เพื่อปกป้องประชากรที่มีความเสี่ยงสูงและอ่อนแอ รวมถึงเจ้าหน้าที่การแพทย์ในแนวหน้าของประเทศต่าง ๆ อีกทั้งเพื่อให้แน่ใจว่าทุกประเทศที่เข้าร่วมจะเข้าถึงวัคซีนได้อย่างเท่าเทียมกันโดยไม่มีข้อจำกัดด้านระดับรายได้ ทั้งนี้ การเข้าร่วมของจีนช่วยให้ทั่วโลกเพิ่มความเชื่อมั่นที่จะผลักดันโครงการอย่างราบรื่น

ประการแรก การที่จีนเข้าร่วมโครงการฯ ถือเป็นการเพิ่ม "กล่องเครื่องมือด้านเทคโนโลยีต้านโควิด-19" ระดับโลกให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้นอย่างมาก ทางการจีนระบุว่า ปัจจุบัน จีนมีวัคซีนโควิด-19 จำนวน 13 ชนิดเข้าสู่การทดลองทางคลินิกแล้ว ในจำนวนนี้ 4 ชนิด เข้าสู่ขั้นตอนการทดลองทางคลินิก ระยะที่ 3 และมีความคืบหน้าที่ดี จนถึงขณะนี้ จีนฉีดวัคซีนโควิด-19 แก่อาสาสมัครไปแล้วราว 60,000 ราย และยังไม่มีรายงานอาการไม่พึงประสงค์ขั้นรุนแรง รวมไปถึงยังไม่มีรายงานว่า กลุ่มคนที่ไปทำงานในพื้นที่เสี่ยงต่อโควิด-19 สูงเกิดการติดเชื้อ

ขณะเดียวกัน การที่จีนเข้าร่วมโครงการ COVAX ยังจะช่วยให้การจัดสรรวัคซีนทั่วโลกดำเนินไปอย่างเป็นธรรม หลังเกิดการแพร่ระบาด ประเทศมหาอำนาจเพียงหนึ่งเดียวของโลกไม่เพียงแต่ถอนตัวออกจากองค์การอนามัยโลกเท่านั้น หากยังปฏิเสธเข้าร่วมโครงการ COVAX ด้วย โดยใช้การที่ไม่ได้เข้าร่วมกิจกรรมที่เกี่ยวข้องขององค์การอนามัยโลกเป็นข้ออ้าง ในฐานะประเทศที่รับผิดชอบ จีนให้คำมั่นสัญญาต่อนานาชาติหลายครั้งว่า จะใช้ความพยายามเพื่อให้วัคซีนกลายเป็นผลิตภัณฑ์สาธารณะระดับโลกที่สามารถเข้าถึงได้ในระดับสากล  ประกันให้การกระจายวัคซีนในประเทศกำลังพัฒนาเป็นไปอย่างเต็มที่ การเข้าร่วมโครงการฯ อย่างเป็นทางการเป็นการยืนหยัดลัทธิพหุภาคี  ปฏิบัติตามสัญญาอย่างเป็นรูปธรรม และส่งเสริมการสร้างประชาคมด้านสุขภาพของมวลมนุษย์

จนถึงขณะนี้ ประเทศและภูมิภาค 184 แห่งได้เข้าร่วมโครงการดังกล่าว ในฐานะประเทศเศรษฐกิจขนาดใหญ่ที่สุดที่สนับสนุนโครงการฯ การเข้าร่วมของจีนจะช่วยเสริมความสามารถในการเจรจากับบริษัทต่าง ๆ รวมไปถึงกระตุ้นกำลังการผลิตของบริษัท ขณะเดียวกัน จีนยังให้ความสำคัญต่อการจัดสรรวัคซีนแก่ประเทศกำลังพัฒนาก่อน ผ่านทางรูปแบบต่าง ๆ เช่น การบริจาคและความช่วยเหลือที่ไม่ได้รับค่าตอบแทน

ปัจจุบัน ผู้ป่วยโควิด-19 ที่ได้รับการยืนยันทั่วโลกมีจำนวนกว่า 40  ล้านคน ในช่วงเวลาสำคัญนี้ ปฏิบัติการของจีนที่มีความรับผิดชอบไม่เพียงแต่อัดฉีด "พลังหัวใจ" แก่ความร่วมมือระดับโลกด้านการต้านโรคระบาดเท่านั้น หากยังเป็นการยืนยันอย่างชัดเจนว่า จีนเป็นโอกาสไม่ใช่ภัยคุกคามต่อทุกประเทศบนโลก ตลอดจนเป็นพันธมิตรไม่ใช่คู่ต่อสู้

tim/kt/cui

00:00:00

  • เสียงข่าวประจำวัน (07-06-2565)

  • สานสัมพันธ์ไทย-จีน (07-06-2565)

  • เสียงคุยกันวันละประเด็น (07-06-2565)

  • เสียงข่าวประจำวัน (06-06-2565)

  • สานสัมพันธ์ไทย-จีน (06-06-2565)

张楠