บทวิเคราะห์ : คำขวัญโอลิมปิกชู "สามัคคีกันมากขึ้น" ย้ำเตือนสหรัฐ ฯ ควรพิจารณาตัวเอง

2021-07-22 15:00:55 | CMG
Share with:

วันที่ 20 กรกฎาคมที่ผ่านมา การประชุมเต็มคณะ ครั้งที่ 138 ของคณะกรรมการโอลิมปิกสากลลงมติที่กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น ให้เพิ่ม "สามัคคีกันมากขึ้น" ลงในคำขวัญโอลิมปิก

ในที่ประชุมเต็มคณะ ครั้งที่ 137 ของคณะกรรมการโอลิมปิกสากล ที่จัดขึ้นออนไลน์เมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านมา หลังเสร็จสิ้นการลงคะแนนเสียงเลือกประธานคณะกรรมการโอลิมปิกสากล นายโธมัส บาค เสนอว่า เพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลงของยุคหลังการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ให้ดียิ่งขึ้น เขาขอเสนอให้เพิ่มคำว่า "สามัคคีกันมากยิ่งขึ้น" ไว้ท้ายคำขวัญโอลิมปิก ซึ่งก็คือ “เร็วยิ่งขึ้น สูงยิ่งขึ้น เข้มแข็งยิ่งขึ้น" เขาอธิบายว่า “ในปัจจุบัน เราจำต้องสามัคคีเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันมากขึ้น ไม่เพียงแต่เพื่อรับมือกับการระบาดของโรคโควิด-19 เท่านั้น สำคัญกว่านั้นคือเพื่อรับมือกับความท้าทายครั้งใหญ่ที่เรากำลังเผชิญ โลกทุกวันนี้ต้องพึ่งพาอาศัยกัน ลำพังประเทศใดประเทศหนึ่งหรือฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งไม่สามารถแก้ไขความท้าทายเหล่านี้ได้ ดังนั้นข้าพเจ้าจึงขอเสนอว่า เพื่อบรรลุเป้าหมาย ‘เร็วยิ่งขึ้น สูงยิ่งขึ้น เข้มแข็งยิ่งขึ้น’ เราต้องร่วมกันรับมือกับมัน เราจำเป็นต้องสามัคคีเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันมากยิ่งขึ้น"

บทวิเคราะห์: คำขวัญโอลิมปิกชู "สามัคคีกันมากขึ้น" ย้ำเตือนสหรัฐ ฯ ควรพิจารณาตัวเอง_fororder_1

คณะกรรมการโอลิมปิกสากลแสดงความกังวลและความคาดหวังต่อสถานการณ์โลกปัจจุบันด้วยปฏิบัติการพิเศษดังกล่าว ถ่ายทอดเสียงเรียกร้องร่วมกันของประชาคมระหว่างประเทศ ซึ่งถือเป็นการเตือนสหรัฐ ฯ ในฐานะ “ผู้สร้างปัญหา” รายใหญ่ที่สุดในโลกปัจจุบันตามความรับรู้ร่วมกันของประชาคมระหว่างประเทศให้พิจารณาตัวเองอย่างลึกซึ้งและเร่งด่วน

นับตั้งแต่สิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่สอง สหประชาชาติเป็นองค์กรระหว่างประเทศพหุภาคีที่สำคัญที่สุดของประชาคมระหว่างประเทศ และเป็นองค์กรแกนกลางในการรักษาสันติภาพ ส่งเสริมการพัฒนา และขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาทั่วโลก มีเพียงแต่ทุกประเทศร่วมกันปกป้องเป้าหมายและหลักการตามกฎบัตรสหประชาชาติ รักษาระบบระหว่างประเทศที่มีสหประชาชาติเป็นแกนหลักรวมถึงระเบียบระหว่างประเทศที่ถือกฎหมายระหว่างประเทศเป็นพื้นฐานเท่านั้น จึงจะสามารถสร้างหลักประกันแก่สันติภาพ ความมั่นคง เสถียรภาพ และความสามัคคีของโลกได้

ทว่าเป็นเวลานานแล้วที่ประเทศตะวันตกบางประเทศ โดยเฉพาะสหรัฐฯ กลับมีพฤติกรรมในทิศทางตรงกันข้าม สร้างความปั่นป่วน สงคราม และภัยด้านมนุษยธรรมนับครั้งไม่ถ้วนบนโลก กล่าวในแง่ของสงคราม จากสถิติที่ไม่สมบูรณ์นับตั้งแต่สิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่สองในช่วง ค.ศ 1945 ถึง ค.ศ. 2001 เกิดการสู้รบด้วยกำลังอาวุธ 248 ครั้ง ใน 153 ประเทศหรือภูมิภาคทั่วโลก ในจำนวนนี้มีถึง 201 ครั้งที่ก่อขึ้นโดยสหรัฐฯ คิดเป็นประมาณ 81% อีกทั้งสงครามรุกรานโดยสหรัฐฯ ส่วนใหญ่ล้วนเป็นการกระทำฝ่ายเดียว ซึ่งบางครั้งยังถูกต่อต้านจากพันธมิตรของสหรัฐฯ เองด้วย เห็นได้ชัดว่านี่เป็นการบ่อนทำลายความสามัคคีของโลกอย่างร้ายแรง

ผู้คนทั้งหลายนับวันยิ่งตระหนักได้อย่างชัดเจนยิ่งขึ้นว่า การกระทำเชิงลัทธิครองความเป็นเจ้าและการเมืองที่ถืออำนาจเป็นใหญ่ต่อหลายประเทศของสหรัฐฯ นั้น ใช่ว่า "เพื่อปกป้องประชาธิปไตย สิทธิมนุษยชน และเสรีภาพ" ตามที่สหรัฐฯ กล่าวอ้าง แต่เพื่อบรรลุเป้าหมายสูงสุดในการแย่งชิงทรัพยากรเชิงยุทธศาสตร์ที่สำคัญ เช่น น้ำมัน และเพื่อปกป้องสถานะ "ความเป็นเจ้า" ของตัวเองต่างหาก

ในช่วงไม่กี่ปีมานี้ ควบคู่ไปกับการผงาดขึ้นของจีน สหรัฐฯ เข้าแทรกแซงกิจการภายในของจีน เช่น ไต้หวัน ฮ่องกง และซินเจียง รวมทั้งประเด็นอื่น ๆ บ่อยยิ่งขึ้น ก่อสงครามการค้าและพยายามทุกวิถีทางในการใส่ร้ายป้ายสีจีน นับตั้งแต่เกิดการระบาดของโควิด-19 สหรัฐฯ ประสบความล้มเหลวในการป้องกันควบคุมโรคระบาด แต่กลับใช้โรคระบาดเป็น “เกมการเมือง” โจมตีจีนอย่างไร้เหตุผลในประเด็นต่าง ๆ เช่น แหล่งที่มาของไวรัส เมื่อเร็ว ๆ นี้ สหรัฐฯ ยังได้สมคบกับพันธมิตรเพื่อกล่าวหาจีนอย่างไม่สมเหตุสมผลในประเด็นความปลอดภัยทางไซเบอร์ จุดประสงค์ที่แท้จริงของการกระทำดังกล่าวของสหรัฐฯ นั้นไม่ได้มากไปกว่าการยับยั้งการผงาดขึ้นของจีนนั่นเอง 

ข้อเท็จจริงพิสูจน์ให้เห็นแล้วว่าหากจีนและสหรัฐฯ ซึ่งเป็นสองมหาอำนาจในโลกในปัจจุบันสามัคคีและร่วมมือกันจะสามารถสร้างประโยชน์ให้กับโลกทั้งใบ แต่หากเผชิญหน้ากันก็อาจนำหายนะครั้งใหญ่มาสู่ทั่วโลก

ในทุกช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อของประวัติศาสตร์ จีนได้อุทิศภูมิปัญญาและแนวทางของตนเองในการส่งเสริมสันติภาพและการพัฒนาของโลก ประธานาธิบดี สี จิ้นผิงของจีนเสนอความคิดริเริ่มที่สำคัญว่าด้วยการสร้างประชาคมที่มีอนาคตร่วมกันของมนุษยชาติอย่างหนักแน่น โดยพิจารณาจากการพัฒนาและความก้าวหน้าของมวลมนุษยชาติ ซึ่งเป็นแนวคิดที่ก้าวข้ามความแตกต่างทางระบบสังคมและขั้นตอนการพัฒนา ชี้ให้เห็นถึงทิศทางการต่อสู้ร่วมกันของประเทศต่าง ๆ เชื้อชาติต่าง ๆ และอารยธรรมต่าง ๆ ซึ่งจีนเป็นผู้ริเริ่มและผู้พิทักษ์ความสามัคคีของโลกมาโดยตลอด

ปัจจุบัน ประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกยังคงได้รับกระทบอย่างรุนแรงจากการระบาดของโรคโควิด-19 การพัฒนาสังคมมนุษย์มาถึงทางแยกและกำลังเผชิญกับความท้าทายครั้งใหม่ที่รุนแรง หวังว่าสหรัฐฯ จะรับฟังเสียงเรียกร้องให้ "สามัคคีกันมากขึ้น" ของคณะกรรมการโอลิมปิกสากล ปฏิบัติตัวด้วยความอ่อนน้อมถ่อมตน ละทิ้ง “ความไม่จริงใจ การใช้อำนาจบาตรใหญ่ ‘กระบอง’ และสองมาตรฐาน” ตลอดจนดำเนินไปในทิศทางเดียวกันกับประชาคมระหว่างประเทศเพื่อร่วมกันสร้างประชาคมที่มีอนาคตร่วมกันของมนุษยชาติ

Tim/lu

ลิขสิทธิ์เป็นของ China Face

00:00:00

  • เสียงข่าวประจำวัน (07-06-2565)

  • สานสัมพันธ์ไทย-จีน (07-06-2565)

  • เสียงคุยกันวันละประเด็น (07-06-2565)

  • เสียงข่าวประจำวัน (06-06-2565)

  • สานสัมพันธ์ไทย-จีน (06-06-2565)

陆永江