‘ลู่ หยวนจิ่ว’เจ้าของรางวัล‘เหรียญ 1 กรกฎา’ผู้อุทิศตนเพื่อภารกิจการบินอวกาศจีน

2021-07-30 10:13:08 | CMG
Share with:

"เหรียญเกียรติยศ 1 กรกฎา" เป็นรางวัลเชิดชูเกียรติสูงสุดของพรรคคอมมิวนิสต์จีน วันที่ 29 มิถุนายน ค.ศ. 2021 พิธีมอบ "เหรียญเกียรติยศ 1 กรกฎา" เนื่องในโอกาสเฉลิมฉลองครบรอบ 100 ปี การก่อตั้งพรรคคอมมิวนิสต์จีนจัดขึ้นอย่างยิ่งใหญ่ ณ มหาศาลาประชาชน กรุงปักกิ่ง นายสี จิ้นผิง เลขาธิการใหญ่คณะกรรมการกลางพรรคคอมมิวนิสต์และประธานาธิบดีจีนเป็นผู้มอบเหรียญดังกล่าว

เฉพาะสมาชิกพรรคคอมมิวนิสต์ที่สร้างคุณูปการอันยอดเยี่ยมแก่พรรคและประชาชนเท่านั้นจึงมีสิทธิ์ได้รับเกียรติเช่นนี้ พิธีมอบเหรียญเกียรติยศ 1 กรกฎาจัดขึ้นเป็นครั้งแรกในปีนี้ โดยมีผู้ได้รับเกียรติอันสูงส่งนี้รวม 29 คน หนึ่งในนั้น คือ ‘ลู่ หยวนจิ่ว’

‘ลู่ หยวนจิ่ว’ เจ้าของรางวัล ‘เหรียญ 1 กรกฎา’ ผู้อุทิศตนเพื่อภารกิจการบินอวกาศจีน_fororder_陆元九

ลู่ หยวนจิ่ว เป็นผู้มีอายุมากที่สุดในบรรดาผู้ได้รับรางวัล "1 กรกฎา" ทั้งหมด 29 คน เขาเป็นที่ปรึกษาคณะกรรมการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี บริษัทเทคโนโลยีการบินอวกาศจีน สมาชิกสภาวิทยาศาสตร์แห่งชาติจีน และสภาวิศวกรรมแห่งชาติจีน เขาสร้างคุณูปการทำให้ความฝันอันสวยงามของจีนในการส่งจรวด ปล่อยดาวเทียมขึ้นสู่วงโคจร การสำรวจดวงจันทร์ และการสำรวจดาวอังคารเป็นจริงขึ้น เขาเป็นหนึ่งในผู้บุกเบิกวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอัตโนมัติของจีน

วันที่ 9 มกราคม ปี ค.ศ. 1920 ลู่ หยวนจิ่ว เกิดในครอบครัวที่มีการศึกษาดีในมณฑลอันฮุย ครอบครัวนี้ทำให้เขามีการศึกษาที่ดี

ช่วงทศวรรษ 1930 ภายใต้สถานการณ์สงครามต่อต้านญี่ปุ่น ลู่ หยวนจิ่ว พร้อมเพื่อนนักศึกษาพยายามเข้าเรียนระดับอุดมศึกษาท่ามกลางความยากลำบาก ต้องย้ายห้องเรียนไปเรื่อย ๆ จากเมืองอู่ฮั่นถึงเมืองอี๋ชางและนครฉงชิ่ง พวกเขาเป็นนักศึกษาจีนกลุ่มแรกที่ได้รับศึกษาด้านเทคโนโลยีการบินอย่างเป็นระบบ

ช่วงกลางทศวรรษ 1940 ลู่ หลวนจิ่ว ได้รับการคัดเลือกเป็นนักศึกษาไปเรียนต่อที่สหรัฐฯ ด้วยทุนสนับสนุนจากภาครัฐ จนในที่สุดเขาก็ได้ไปเรียนภาควิชาวิศวกรรมการบินที่สถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์

เวลานั้นนักศึกษาจีนและต่างชาติส่วนใหญ่จะเลือกวิชาเอกภาคทฤษฎีตามพื้นฐานการเรียนในประเทศของตน แต่ลู่ หยวนจิ่ว รู้สึกว่า ไหน ๆ ก็เดินทางมาถึงสหรัฐฯ แล้ว เขาอยากเรียนความรู้ใหม่บางอย่าง

หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 เทคโนโลยีการควบคุมอัตโนมัติพัฒนาขึ้นอย่างรวดเร็ว และเทคโนโลยีเฉื่อยได้เริ่มนำมาใช้กับการบินและขีปนาวุธจากพื้นสู่พื้น แต่เทคโนโลยีนี้ยังอยู่ในช่วงเริ่มต้นที่จะนำมาใช้ในระบบนำทาง ลู่ หยวนจิ่ว ผู้ชอบความท้าทายจึงเลือกอุปกรณ์วิทยา กลายเป็นนักศึกษาปริญญาเอกคนแรกของศาสตราจารย์ Charles Stark Draper ผู้เชี่ยวชาญด้านการควบคุมอัตโนมัติผู้มีชื่อเสียงของโลก สาขาวิชาอุปกรณ์วิทยานี้เป็นวิชาเรียนเกี่ยวกับการนำทางเฉื่อย ซึ่งเป็นเรื่องยากมาก ด้วยความฉลาดและความพยายามทำให้ลู่ หยวนจิ่วมีผลงานโดดเด่น อาจารย์ชื่นชอบนักเรียนต่างชาติจากจีนคนนี้อย่างมาก

ค.ศ. 1949 ลู่ หยวนจิ่ว มีเรื่องใหญ่ที่น่ายินดีสองเรื่อง หนึ่ง คือ การได้รับปริญญาเอก และอีกเรื่องหนึ่ง คือ การแต่งงานกับหวัง ฮ่วนเป่า เพื่อนคนหนึ่งจากมณฑลอันฮุย ที่ไปเรียนปริญญาโทที่สหรัฐอเมริกา หลังจากได้รับปริญญาเอก เมื่ออายุ 29 ปี เขาได้รับการตอบรับเป็น นักวิจัยร่วมและวิศวกรวิจัยเพื่อทำงานวิจัยในสถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์ เพื่อทำงานในทีมของอาจารย์ต่อไป

จนกระทั่งช่วงปี 1980 หนุ่มสาวจีนที่ไปเรียนที่ MIT ยังคงบอกต่อ ๆ กันว่า เคยมีชาวจีนคนหนึ่งได้รับปริญญาเอกด้านระบบนำทางเฉื่อยคนแรกของโลกจากมหาวิทยาลัยนี้ ซึ่งผู้นั้นก็คือลู่ หยวนจิ่ว

หลังจากสาธารณรัฐประชาชนจีนสถาปนาขึ้นทำให้ลู่ หยวนจิ่ว ยิ่งอยากกลับประเทศ หลังผ่านขั้นตอนที่ค่อนข้างยากเย็นในที่สุดครอบครัวของลู่ หยวนจิ่วจึงได้กลับประเทศจีนผ่านทางเรือ

ในขณะนั้นสภาวิทยาศาสตร์แห่งชาติจีนกำลังจัดตั้งสถาบันวิจัยระบบอัตโนมัดิ โดยทางรัฐบาลได้ตั้งให้ลู่ หยวนจิ่ว ผู้ทรงคุณวุฒิด้านระบบอัตโนมัติ เป็นหัวหน้าสำนักวิจัยอัตโนมัติ แล้วค่อยดำรงตำแหน่งรองผู้อำนวยการ เพื่อเตรียมการจัดตั้งสถาบันฯ การวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการนำทางเฉื่อย

"ถ้าจะต้องดำเนินการวิจัยเกี่ยวกับการควบคุมอัตโนมัติของดาวเทียม ต้องคิดวิธีการควบคุมเพื่อให้ดาวเทียมกลับมาสู่โลกได้" ในระหว่างการวิจัย ลู่ หยวนจิ่วได้เสนอแนวคิด "การให้ดาวเทียมกลับสู่โลก" เป็นครั้งแรก ขณะเดียวกันตัวอย่างโมดูลจรวดหยั่งอวกาศ (Sounding rocket) ลำแรกของจีนประกอบขึ้นโดย ลู่ หยวนจิ่ว และเพื่อนร่วมงานของเขา

‘ลู่ หยวนจิ่ว’ เจ้าของรางวัล ‘เหรียญ 1 กรกฎา’ ผู้อุทิศตนเพื่อภารกิจการบินอวกาศจีน_fororder_陆元九院士在航天时代电子公司激光陀螺实验室与同事探讨问题

"ทำสมบูรณ์หนึ่งรุ่น พัฒนาหนึ่งรุ่น สำรวจรุ่นหนึ่ง" ในงานของเขา ลู่ หยวนจิ่ว สนับสนุนให้ติดตามเทคโนโลยีทันสมัยของโลกมาโดยตลอด ภายใต้การนำของเขาการบินอวกาศจีนดำเนินการงานวิจัยนำร่อง และการพัฒนาอุปกรณ์ทดสอบต่าง ๆ อย่างต่อเนื่อง ซึ่งเป็นการวางรากฐานที่มั่นคงสำหรับการพัฒนาเครื่องมือเฉื่อยของจีน

ในช่วงต้นทศวรรษ 1960 ลู่ หยวนจิ่ว รับผิดชอบหลายโครงการของมหาวิทยาลัยวิทยาศาสตร์จีนและสภาวิทยาศาสตร์แห่งชาติจีน โดยต้องทำงานมากกว่าสิบชั่วโมงต่อวัน ในช่วงเวลานั้นเขายังพยายามที่จะเขียนหนังสือหลายเล่มเพื่อรวบรวมผลงานวิจัยด้านไจโรและการนำทางเฉื่อย

ในปี ค.ศ. 1964 หนังสือหัวข้อ "หลักการเคลื่อนที่ของไจโรและเฉื่อย (เล่มที่ 1)" ได้รับการตีพิมพ์ ซึ่งถือเป็นหนึ่งในหนังสือที่เขียนถึงเทคโนโลยีเฉื่อยในจีนและมีบทบาทสำคัญต่อการส่งเสริมการพัฒนาเทคโนโลยีเฉื่อยของจีน

หลังจากนั้นลู่ หยวนจิ่วได้จัดตั้งห้องปฏิบัติการวิจัยเทคโนโลยีความเฉื่อยลอยตัวในของเหลวของสภาวิทยาศาสตร์จีน ทั้งยังดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการสำนักงานวิจัย ตลอดจนได้พัฒนาโครงการทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีหลายประการที่สำคัญในจีน ที่เมืองฉางชุนเครื่องหมุนเหวี่ยงความแม่นยำสูงขนาดใหญ่เครื่องแรกของจีนถูกสร้างขึ้นภายใต้การนำของเขาเช่นกัน

ลู่ หยวนจิ่วได้รับเชิญเข้าร่วมการประชุมต่าง ๆ เช่น การสอบป้องกันวิทยานิพนธ์ เนื่องจากเป็นคนที่ชอบพูดแบบตรงไปตรงมา คนทั่วไปจึงรู้สึกเครียดเป็นพิเศษหากได้ยินว่าเขาจะมาร่วมงานหรือเป็นกรรมการสอบด้วย

ทุกคนเข้าใจดีว่า "คุณลุงลู่เป็นคนที่เข้มงวด" ความเข้มงวดนี้มาจากความรับผิดชอบต่อผลิตภัณฑ์ด้านการบินและอวกาศ เขามักพูดว่า  "ผลิตภัณฑ์ของเราจะต้องส่งถึงอวกาศ จึงต้องประกันให้มีคุณภาพดี และต้องมีความต้องการที่เข้มงวดและเราจึงจะก้าวหน้าได้เร็วขึ้น"

การส่งเสริมให้คนหนุ่มสาวมีความ "ก้าวหน้าเร็วขึ้น" และพัฒนาอุตสาหกรรมการบินอวกาศรุ่นสู่รุ่นเป็นความปรารถนาของลู่ หยวนจิ่ว เพื่อนร่วมงานของเขากล่าวว่า "สมาชิกสภาฯ ลู่ให้ความสำคัญกับการฝึกอบรมบุคลากรและเป็นที่รู้ดีในแวดวงผู้เชี่ยวชาญด้านการบินอวกาศ" ภายใต้การกำชับดูแลของเขา หน่วยงานการบินอวกาศจีนมีประเพณีที่จะอบรมผู้มีความสามารถที่มีการศึกษาสูง

‘ลู่ หยวนจิ่ว’ เจ้าของรางวัล ‘เหรียญ 1 กรกฎา’ ผู้อุทิศตนเพื่อภารกิจการบินอวกาศจีน_fororder_上世纪90年代,陆元九在北京惯导测试中心调研时在门前留影

หลังปี 2000 ลู่ หยวนจิ่ว ในวัย 80 ปี ยังคงทำงานในอุตสาหกรรมการบินอวกาศ หลังจากรวบรวมเอกสารและคิดอย่างรอบคอบ เขามีแนวคิดเกี่ยวกับระบบการฝึกอบรมนักวิทยาศาสตร์สำหรับผู้มีความสามารถด้านอวกาศและค่อย ๆ ชัดเจนขึ้นมา ในปี ค.ศ. 2005 ลู่ หยวนจิ่วตีพิมพ์บทความ "การอบรมให้มีระเบียบในการทำงานของบุคลากรด้านการบินอวกาศ" นักวิทยาศาสตร์ด้านการบินอวกาศรุ่นเยาว์ที่โดดเด่นของจีน ภายใต้การแนะนำของเขาได้เติบโตขึ้นเป็นคนที่มีระเบียบที่ดีเยี่ยมในการทำงาน

ลู่ หยวนจิ่วใช้ชีวิตอย่างประหยัดมาตลอดแต่เขาบริจาคเงินจำนวนมหาศาลเพื่อพัฒนาการวิจัยทางวิทยาศาสตร์

ชีวิตของลู่ หยวนจิ่ว ได้ส่งเสริมการพัฒนาอุตสาหกรรมการนำทางเฉื่อยของจีน ทั้งยังได้อบรมนักวิทยาศาสตร์ชั้นนำจำนวนมาก ในวันคล้ายวันเกิดครบรอบ 90 ปีของเขา บรรดาลูกศิษย์ได้ส่งจดหมายแสดงความยินดีถึงเขาว่า "แม้ว่าเราต่างมีอายุมากกว่า 70 แล้ว แต่เราอยากได้ยินคุณพูดถึง 'ทฤษฎี' ต่าง ๆ ในห้องเรียนอีกครั้ง"

“อุตสาหกรรมการบินของเราเติบโตจากไม่มีมาเป็นมีแล้ว จากอ่อนแอสู่แข็งแกร่ง และทุกย่างก้าวขาดการนำและการสนับสนุนจากพรรคคอมมิวนิสต์จีนไม่ได้ ในวันครบรอบ 100 ปี การก่อตั้งพรรคคอมมิวนิสต์จีน ผมรู้สึกเป็นเกียรติอย่างยิ่งที่ได้รับรางวัลเหรียญ 1 กรกฎาคม รางวัลนี้ไม่ใช่เป็นเกียรติส่วนตัวของผมเท่านั้น หากยังเป็นเกียรติของบรรดาผู้ที่ทำงานเพื่อการบินอวกาศทุกคนด้วย" ลู่ หยวนจิ่ว กล่าว

Tim/Lei/Lu

00:00:00

  • เสียงข่าวประจำวัน (07-06-2565)

  • สานสัมพันธ์ไทย-จีน (07-06-2565)

  • เสียงคุยกันวันละประเด็น (07-06-2565)

  • เสียงข่าวประจำวัน (06-06-2565)

  • สานสัมพันธ์ไทย-จีน (06-06-2565)

陆永江