บทวิเคราะห์ : จิตสำนึกอนุรักษ์ทรัพยากรน้ำแม่น้ำล้านช้าง-แม่น้ำโขง ฝังลึกในใจของชาวบ้านลุ่มแม่น้ำ

2021-10-29 17:32:18 | ไชน่ามีเดียกรุ๊ป
Share with:

ที่ราบสูงชิงไห่-ทิเบตของจีนเป็นต้นกำเนิดแม่น้ำสายหนึ่ง ที่นอกจากไหลผ่านมณฑลชิงไห่, เขตปกครองตนเองทิเบต, มณฑลยูนนานของจีนแล้ว ยังไหลผ่านอีก 5 ประเทศเพื่อนบ้าน ได้แก่ เมียนมาร์, ลาว, ไทย, กัมพูชาและเวียดนาม นับเป็นแม่น้ำสากลสายเดียวที่เชื่อมโยง 6 ประเทศเอเชียเข้าไว้ด้วยกัน แม่น้ำสายนี้ คือ “แม่น้ำล้านช้าง-แม่น้ำโขง”

เมื่อเร็ว ๆ นี้ กิจกรรมทำข่าว “การเดินทางหมื่นลี้ริมแม่น้ำล้านช้าง-แม่น้ำโขง” จัดขึ้นที่มณฑลชิงไห่ของจีน กิจกรรมเริ่มต้นจากการเยือนพื้นที่ต้นแม่น้ำล้านช้าง เพื่อรายงานถึงสภาพการอนุรักษ์ระบบนิเวศ ทรัพยากรน้ำและความหลากหลายทางชีวภาพอย่างรอบด้าน โดยผู้เขียนได้ร่วมกิจกรรมครั้งนี้ และประทับใจมากที่เห็นว่า ชาวบ้านมีจิตสำนึกด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรน้ำอย่างแรงกล้ายิ่ง ทุกคนให้ความร่วมมือที่จะอนุรักษ์แม่น้ำสากลสายนี้ เพื่อให้น้ำไหลสู่ตอนล่างใสสะอาดมากขึ้น

บทวิเคราะห์ : จิตสำนึกอนุรักษ์ทรัพยากรน้ำแม่น้ำล้านช้าง-แม่น้ำโขง ฝังลึกในใจของชาวบ้านลุ่มแม่น้ำ

การอนุรักษ์ระบบนิเวศต้องทำตั้งแต่ต้นทาง การศึกษาอารยธรรมระบบนิเวศก็ต้องปลูกฝังตั้งแต่เด็กเช่นกัน โรงเรียนสาธิตอี้ว์ซู่ สังกัดมหาวิทยาลัยครูชิงไห่ ที่ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำล้างช้าง ใกล้กับอุทยานแห่งชาติแดนน้ำสามสบ ตั้งแต่เดือนกันยายนปีนี้ ได้เปิดสอนเกี่ยวกับระบบนิเวศ และสอดแทรกความรู้ความเข้าใจในวิชาชีววิทยาและภูมิศาสตร์ เป็นต้น

ทางโรงเรียนได้เน้นการสอนเรื่องการอนุรักษ์ลุ่มแม่น้ำล้านช้าง ให้ความรู้เกี่ยวกับระบบนิเวศ ทรัพยากรสัตว์และพืชในท้องถิ่น ให้เห็นถึงผลเสียจากการที่ระบบนิเวศถูกทำลาย และย้ำถึงมาตรการคุ้มครองความมั่นคงทางระบบนิเวศ เป็นต้น

บทวิเคราะห์ : จิตสำนึกอนุรักษ์ทรัพยากรน้ำแม่น้ำล้านช้าง-แม่น้ำโขง ฝังลึกในใจของชาวบ้านลุ่มแม่น้ำ

เมื่อออกจากประตูโรงเรียนก็จะเห็นแม่น้ำล้านช้างแล้ว การเปิดสอนระบบนิเวศดังกล่าว จึงไม่เพียงแต่ทำให้นักเรียนเพิ่มพูนความรู้ หากยังกระตุ้นพวกเขามีความรักต่อบ้านเกิดด้วยความจริงใจและมีจิตสำนึกอนุรักษ์ระบบนิเวศด้วยตนเอง พวกนักเรียนร่วมกิจกรรมวาดภาพบนกระดานดำในหัวข้อ “พิทักษ์แม่น้ำล้านช้าง” และทำกิจกรรมเก็บขยะนอกโรงเรียน

นักเรียนมัธยมปลายปี 1 คนหนึ่งบอกผู้สื่อข่าวว่า เมื่ออนุรักษ์ทรัพยากรน้ำตอนต้นดีขึ้น น้ำที่ไหลสู่ตอนล่างก็ย่อมจะใสสะอาดขึ้นตาม ซึ่งเพื่อนนักเรียนในพื้นที่ต้นกำเนิดแม่น้ำล้านช้าง-แม่น้ำโขงนี้ มีความเข้าใจถึงความสำคัญของการอนุรักษ์ระบบนิเวศและความร่วมมือแม่น้ำล้านช้าง-แม่น้ำโขงมาตั้งแต่เด็ก แนวคิดที่เรียบง่ายนี้ กลายเป็นความรับรู้ร่วมกันของนักเรียนในโรงเรียน ทำให้พวกเขามีจิตสำนึกด้านอารยธรรมระบบนิเวศและยินดีแบกรับภาระหน้าที่อนุรักษ์ต้นน้ำ

บทวิเคราะห์ : จิตสำนึกอนุรักษ์ทรัพยากรน้ำแม่น้ำล้านช้าง-แม่น้ำโขง ฝังลึกในใจของชาวบ้านลุ่มแม่น้ำ

ส่วนในอำเภอจ๋าตัว มณฑลชิงไห่ ซึ่งอยู่ตอนต้นแม่น้ำล้านช้างเช่นกัน บุคคลหลายประเทศลุ่มแม่น้ำล้านช้าง-แม่น้ำโขง ได้หารือการอนุรักษ์แม่น้ำผ่านวิดีโอด้วย ดร. Htaik Lwin Ko ชาวเมียนมาร์จบปริญญาเอกและเคยมาศึกษาที่จีนกล่าวว่า เมียนมาร์มุ่งอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ดำเนินความร่วมมือกับหลายประเทศ แสวงหาการอนุรักษ์พันธุ์พืชและสัตว์อย่างจริงจัง เขาเห็นว่า ประเทศลุ่มแม่น้ำล้านช้าง-แม่น้ำโขงมีขนบธรรมเนียมชนเผ่าและประเพณีดั้งเดิมที่คล้ายคลึงกัน ดังนั้น เพื่อการพัฒนาและการอนุรักษ์ที่ดีขึ้น ต้องมีการเจรจาประสานงานกันให้มากขึ้นอีก

ส่วนนางสาวเผย ลี่น่า นักศึกษาจากประเทศลาวกล่าวว่า ประเทศลาวไม่มีทะเล สำหรับชาวลาวทุกคนแล้ว แม่น้ำโขงก็คือแม่น้ำแม่ของเรา เธอเห็นว่า ชาวบ้านลุ่มแม่น้ำล้านช้าง-แม่น้ำโขงทุกคนล้วนต้องใช้ความพยายามอนุรักษ์แม่น้ำสายนี้อย่างเต็มที่ และเธอยังเสนอประยุกต์ใช้วิทยาศาสตร์เทคโนโลยีทันสมัยในการอนุรักษ์และสร้างสรรค์ระบบนิเวศมากขึ้น

บทวิเคราะห์ : จิตสำนึกอนุรักษ์ทรัพยากรน้ำแม่น้ำล้านช้าง-แม่น้ำโขง ฝังลึกในใจของชาวบ้านลุ่มแม่น้ำ

แม่น้ำล้านช้าง-แม่น้ำโขงไม่ใช่เพียงสายน้ำแห่งธรรมชาติ แต่ยังเป็นแม่น้ำแห่งมิตรภาพ แม่น้ำแห่งความร่วมมือ และแม่น้ำแห่งความเจริญรุ่งเรือง ที่หล่อเลี้ยงชีวิตของผู้คนที่มีชนเผ่าและสีผิวที่ต่างกัน รองรับมิตรภาพอันลึกซึ้งระหว่างประชาชนหลายประเทศลุ่มแม่น้ำ โดยเจตนารมณ์แม่น้ำล้านช้าง-แม่น้ำโขงที่ว่า “ร่วมดื่มน้ำจากแม่น้ำสายเดียวกัน ร่วมอนาคตที่เชื่อมโยงใกล้ชิดกัน” ก็จะแสดงบทบาทสำคัญเพื่อผลักดันการสร้างสรรค์ประชาคมเอเชียที่มีอนาคตร่วมกันให้ยืนยงสืบไป

เขียนโดย ชุย อี๋เหมิง ภาคภาษาไทย ศูนย์เอเชียแอฟริกา สถานีวิทยุและโทรทัศน์กลางแห่งประเทศจีน (CMG)

(Yim/Cui)

00:00:00

  • เสียงข่าวประจำวัน (07-06-2565)

  • สานสัมพันธ์ไทย-จีน (07-06-2565)

  • เสียงคุยกันวันละประเด็น (07-06-2565)

  • เสียงข่าวประจำวัน (06-06-2565)

  • สานสัมพันธ์ไทย-จีน (06-06-2565)

崔沂蒙