ความสำคัญทางยุทธศาสตร์ของรถไฟจีน-ลาว (2)

2022-02-28 14:47:18 | CRI
Share with:

จนถึงการประชุมประจำปี 2017 บรรดาผู้ร่วมประชุมยังคงหารือกฎหมายที่เกี่ยวข้องอยู่  เส้นทางเหนือ เส้นทางใต้ เส้นทางเหนือ-ใต้เงียบไปเลย เหลือแต่เส้นทางอาเซียน นั่นก็คือทางรถไฟแพนเอเชีย

แต่ทางรถไฟแพนเอเชียฉบับปัจจุบันมีความสมบูรณ์แบบยิ่งขึ้น คือจากหนึ่งสายกลายเป็นสามสาย ได้แก่เส้นทางตะวันตก เส้นทางกลางและเส้นทางตะวันออก

เส้นทางตะวันตกคือทางรถไฟจีน -พม่า ระยะทาง 1,920 กิโลเมตร ตามแผนจะเริ่มก่อสร้างในปี 2014 แต่มีปัจจัยทางการเมืองเข้าแทรกแซง จนถึงปี 2018 จึงสามารถเริ่มก่อสร้างได้ คาดว่าตอนที่อยู่ในจีนจะสร้างแล้วเสร็จในปี 2023

ความสำคัญทางยุทธศาสตร์ของรถไฟจีน-ลาว (2)

แต่ช่วงที่อยู่ในพม่ามีความยากลำบาก ตามแผนของจีน ทางรถไฟจะสร้างจากเมืองคุนหมิงผ่านเมืองชายแดนรุ่ยลี่แล้วเข้าเมืองมิวส์ของพม่าจนถึงมัณฑะเลย์ หลังจากนั้น ที่มัณฑะเลย์จะแยกออกเป็น 2เส้นทางคือ มัณฑะเลย์-เนปิดอว์-ย่างกุ้ง และมัณฑะเลย์-ท่าเรือน้ำลึกจ๊อกพยิว (Kyaukpyu Port)

แต่มีข้อขัดแย้งที่เส้นทางมัณฑะเลย์-ท่าเรือน้ำลึกจ๊อกพยิว   รัฐบาลพม่าคงสนใจเส้นทางมัณฑะเลย์-เนปิดอว์-ย่างกุ้งมากกว่า เพื่อให้คนในเมืองมีชีวิตที่ทันสมัยยิ่งขึ้น นอกจากนั้น ยังมีแรงกดดันจากภายนอก เพราะเหตุใด

ท่าเรือน้ำลึกจ๊อกพยิวเป็นที่ตั้งของท่อส่งน้ำมันดิบจีน-พม่า และท่อส่งก๊าซธรรมชาติจีน-พม่า

ท่อส่งน้ำมันดิบจีน-พม่าสร้างแล้วเสร็จในปี 2017 เริ่มจากเกาะมาเดย (MadayIsland) ไปถึงเมืองรุ่ยลี่ของจีน ท่อส่งก๊าซธรรมชาติจีน-พม่า สร้างแล้วเสร็จในปี 2013 จนถึงเดือนพฤษภาคมปี 2020 ท่อสองแห่งนี้ได้ส่งน้ำมันดิบ 30 ล้านตัน ก๊าซธรรมชาติ 26,500 ล้านลูกบาศก์เมตรเข้าจีน ขณะเดียวกันได้ส่งก๊าซธรรมชาติ 4,600 ล้านลูกบาศก์เมตร และพม่ายังได้ค่าผ่านแดน 500 ล้านเหรียญสหรัฐฯ จากสองท่อนี้ด้วย

สื่อโซเชียลจีนชี้ว่า สหรัฐฯ และญี่ปุ่นเป็นห่วงว่า ถ้าหากจีนบริหารท่าเรือน้ำลึกจ๊อกพยิว ก็จะขยายการก่อสร้างเป็นท่าเรือที่สามารถรองรับเรือบรรทุกสินค้าขนาด 300,000 ตัน เมื่อทางรถไฟจากมัณฑะเลย์-  ท่าเรือจ๊อกพยิวสร้างเสร็จ ก็จะสามารถรักษาความมั่นคงทางเศรษฐกิจและทางทหารของเขตนี้ น้ำมันและพลังงานปริมาณมหาศาลที่จีนนำเข้าจากต่างประเทศนั้น (ปัจจุบัน จีนเป็นประเทศผู้นำเข้าน้ำมันดิบมากเป็นอันดับ 1 ของโลก) ก็จะสามารถหลีกเลี่ยงช่องแคบมะละกาที่ควบคุมโดยสหรัฐอเมริกา

ปัจจุบัน จีนกับพม่ายังเจรจากันอยู่ แต่สองฝ่ายตกลงที่จะสร้างเส้นทางที่ออกจากเมืองรุ่ยลี่ของจีน เข้าอำเภอมิวส์(Muse District)ของพม่า ไปสิ้นสุดที่นครมัณฑะเลย์ คาดว่าจะสร้างแล้วเสร็จในปี 2026

ด้านเส้นทางกลางคือคุนหมิง-กรุงเวียนจันทน์-กรุงเทพฯ-มาเลเซีย-สิงคโปร์ จนถึงขณะนี้ได้สร้างทางรถไฟเมืองคุนหมิงถึงกรุงเวียนจันทน์ ยังเหลืออีก 2 ใน 3 กว่าจะถึงสิงคโปร์ แต่ก็ถือว่าโชคดีแล้ว

ด้านเส้นทางตะวันออกคือคุณหมิงของจีน - นครโฮจิมินห์ของเวียดนามเป็นอย่างไรบ้าง  ทางรถไฟช่วงที่อยู่ในจีนสร้างแล้วเสร็จและเปิดใช้งานในปี 2014

แต่ช่วงที่อยู่ในเวียดนามยังไม่มีอะไรเลย อันที่จริง สภาพทางภูมิศาสตร์ของเวียดนามจะสร้างทางรถไฟได้ไม่ยาก ต้นทุนจะต่ำที่สุด แต่เวียดนามไม่ไว้ใจจีน หันไปหาญี่ปุ่นให้ช่วยสร้าง โดยกำหนดโครงการรถไฟความเร็วสูงสายเหนือ-ใต้ที่เชื่อมกรุงฮานอยกับโฮจิมินห์ แต่จนถึงปัจจุบันยังไม่ได้เริ่ม สองฝ่ายกำลังเจรจาต่อรองกันอยู่ ทำให้ยอดการลงทุนเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ และเลื่อนเวลาสร้างแล้วเสร็จไปเป็นปี 2045 หมายความว่าจะต้องรออย่างน้อยอีก 23 ปี ในช่วง 23 ปี จีนคงสร้างทางรถไฟกว่าหมื่นกิโลเมตรไปแล้ว

ความสำคัญทางยุทธศาสตร์ของรถไฟจีน-ลาว (2)

นับตั้งแต่สหประชาชาติเสนอแผนเครือข่ายทางรถไฟแพนเอเชียจนถึงปัจจุบัน เวลาผ่านไปกว่า 50 ปีแล้ว ปัจจุบันที่เปิดใช้งานมีเพียงทางรถไฟคุนหมิง – เวียนจันทน์ การสร้างทางรถไฟไม่ใช่เรื่องยาก เรื่องที่ยากคือสถานการณ์โลกและความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ

ถ้าหากเครือข่ายทางรถไฟแพนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้สามารถสร้างแล้วเสร็จ แร่ธาตุและพลังงานของประเทศต่างๆ ในเขตนี้จะขนส่งออกไปขายได้ โครงสร้างพื้นฐานจะได้รับการพัฒนาให้ดีขึ้นอย่างมาก ราคาสินค้าจะลดลง การท่องเที่ยวและวัฒนธรรมจะพัฒนาพร้อมกัน

ส่วนทางรถไฟเส้นทางต่างๆ ที่จะไปบรรจบกันที่คุนหมิง คุนหมิงจะมีหน้าที่รวบรวมทรัพยากรจากฝ่ายต่างๆ แล้วนำไปดำเนินการผลิตในเขตภาคตะวันตกเฉียงใต้ของจีน ที่เป็นเขตด้อยพัฒนาทางเศรษฐกิจของจีน ซึ่งเขตนี้มีมณฑลยูนนาน มณฑลเสฉวน มณฑลกุ้ยโจวและเขตปกครองตนเองชนเผ่าจ้วงกว่างซี

ปีหลังๆ นี้ รัฐบาลกลางจีนลงทุนมหาศาลในเขตนี้ อาทิ จัดสรรงบประมาณให้มณฑลเสฉวนปีละ 238,100 ล้านหยวน มณฑลยูนนานปีละ 172,300 ล้านหยวน กว่างซีปีละ 164,200 ล้านหยวน มณฑลกุ้ยโจวปีละ 173,900 ล้านหยวน

งบประมาณเหล่านี้เอาไปทำอะไร เอาไปพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน สร้างทางรถไฟ ทางหลวง ทางรถไฟความเร็วสูง พลิกโฉมของเมืองให้ทันสมัยยิ่งขึ้น แม้ว่าเป็นเขตด้วยพัฒนาแต่เมืองคุนหมิง เฉิงตู กุ้ยหยางและนครฉงชิ่งจะไม่ต่างจากเมืองเซินเจิ้นที่เป็นเมืองพัฒนาที่สุดของจีนมากนัก

ทั้งนี้ วัตถุประสงค์สำคัญอย่างหนึ่งคือ คอยรองรับทรัพยากรจากอาเซียน ร่วมมือกับประเทศอาเซียน สร้างเขตนี้ให้เป็นฐานอุตสาหกรรมใหม่ของโลก สร้างตลาดบริโภคขนาดใหญ่แห่งใหม่ของโลก

แต่ยังไม่จบแค่นี้ ขบวนรถไฟจีน-ยุโรปเปิดมากว่า 10 ปีแล้ว ขนส่งสินค้ารวมเป็นมูลค่ากว่า 200,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ  ในนี้มี  2 เส้นทางออกจากเขตภาคตะวันตกเฉียงใต้ของจีน หนึ่งคือเส้นทาง “อวี๋ซินโอว” (渝新欧) ออกจากนครฉงชิ่งซึ่งเป็นเมืองสำคัญของเขตภาคตะวันตกเฉียงใต้ของจีน ไปถึงเมืองดุยส์บวร์กของเยอรมนี ระยะทางรวม 11,179  กิโลเมตร สองคือเส้นทาง “หรงโอว” (蓉欧) จากเมืองเฉิงตูเมืองเอกมณฑลเสฉวนไปถึงโปแลนด์ ระยะทาง 9,826 กิโลเมตร และในอนาคต ทางรถไฟสองเส้นทางนี้ จะเป็นเส้นทางสำคัญที่เชื่อมยุโรปกับฐานอุตสาหกรรมใหม่ที่ประกอบด้วยอาเซียนกับเขตภาคตะวันตกเฉียงใต้ของจีน

นับตั้งแต่เปิดเดินรถไฟจีน - ลาวในวันที่ 3 ธันวาคม 2021 จนถึงวันที่ 17 มกราคม 2022 ด่านศุลกากรคุนหมิงมีขบวนรถไฟขนส่งสินค้าผ่านด่าน 153 ขบวน น้ำหนักรวม 59,500 ตัน เป็นเงิน 1,068 ล้านหยวน นี่เป็นช่วงแรกของทางรถไฟจีน - ลาว นี่เป็นช่วงแรกของเครือข่ายรถไฟจีน - อาเซียน และเป็นก้าวแรกของเครือข่ายรถไฟอาเซียน -จีน -ยุโรป

00:00:00

  • เสียงข่าวประจำวัน (07-06-2565)

  • สานสัมพันธ์ไทย-จีน (07-06-2565)

  • เสียงคุยกันวันละประเด็น (07-06-2565)

  • เสียงข่าวประจำวัน (06-06-2565)

  • สานสัมพันธ์ไทย-จีน (06-06-2565)

何喜玲