เทศกาลสาดน้ำในยูนนาน

2022-04-14 16:53:29 | CRI
Share with:

เทศกาลสาดน้ำในยูนนาน

เทศกาลสงกรานต์หรือที่ภาษาจีนเรียกว่า โพส่วยเจี๋ย แปลว่าเทศกาลสาดน้ำ เป็นเทศกาลปีใหม่สำหรับชนกลุ่มน้อยทางภาคตะวันตกเฉียงใต้ของจีน รวมถึง ชาวไต ชาวอาชาง ชาวปู้หลั่ง  ชาวหว่าและชาวเต๋ออ๋าง และในประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เช่นประเทศไทย เป็นเทศกาลดั้งเดิมที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของชาวไตในรอบปี ซึ่งชาวไตจะฉลองเทศกาลสาดน้ำในช่วงเดือนที่ 6 และ 7 ของปฏิทินชาวไต  ก็คือเริ่มจากประมาณวันที่ 10 หลังจากเทศกาลชิงหมิง ปัจจุบันได้รับการกำหนดว่าเป็นวันที่ 13-15 เมษายน

ในช่วงเทศกาลนั้น ผู้คนจะสาดน้ำใส่กันเพื่อให้พรแก่กันและจะจัดกิจกรรมต่างๆ เช่น ไหว้พระ แข่งเรือมังกร จัดงานบุญบั้งไฟ และจุดโคมไฟขงเป้ง ในปัจจุบัน ได้เพิ่มกิจกรรมใหม่ๆ เช่น ขบวนพาเหรด การแสดงทางวัฒนธรรม การชมภาพยนตร์ยามเย็น การจัดนิทรรศการ และตลาดนัดเป็นต้น

ชาวเต๋ออ๋าง จะเฉลิมฉลองเทศกาลสาดน้ำในวันที่ 7 หลังจากเทศกาลชิงหมิง นอกจากกิจกรรมดั้งเดิม เช่นการสาดน้ำและการรำกลองทรงเท้าช้างที่เหมือนกับชาวไตแล้ว ประเพณีที่โดดเด่นที่สุดของชาวเต๋ออ๋างคือการล้างมือและล้างเท้าให้ผู้สูงวัย

หากพ่อแม่เสียไปแล้ว พี่ชาย พี่สาว พี่เขยและพี่สะใภ้ จะกลายเป็นผู้ที่รับการล้างมือล้างเท้า ประเพณีนี้มาจากตำนานโบราณของชาวเต๋ออ๋าง เล่ากันว่าในวันที่เจ็ดหลังวันชิงหมิง ลูกชายที่ไม่เชื่อฟังคุณแม่คนหนึ่ง กำลังทำงานอยู่บนภูเขา เมื่อเห็นภาพของนกกำลังหาอาหารกลับไปเลี้ยงลูก ก็รู้ตัวและตั้งใจที่จะกตัญญูต่อคุณแม่ของเขาให้ดี แต่ในขณะเดียวกัน คุณแม่ของเขากำลังจะเดินขึ้นเขาเพื่อส่งอาหารให้ลูก ลูกชายเห็นแล้วก็รีบลงไปช่วยแม่ แต่แม่คิดว่าลูกชายกำลังจะทุบตีเธอ ก็เลยเอาหัวโขกต้นไม้ ลูกชายเสียใจมากๆ ก็ตัดต้นไม้และแกะสลักเป็นรูปปั้นของแม่ ต่อจากนั้นมา ในวันที่ 7 หลังวันชิงหมิงของทุกปี เขาก็จะล้างรูปปั้นด้วยน้ำอุ่นที่โรยด้วยกลีบดอกไม้ ต่อมากลายเป็นธรรมเนียมของชาวเต๋ออ๋างจนถึงทุกวันนี้

เทศกาลสาดน้ำในยูนนาน

ใกล้ถึงเทศกาลเต๋ออ๋างก็จะยุ่งกับการทำเสื้อผ้าใหม่ ทำขนมแป้งข้าวเหนียว และเตรียมอุปกรณ์สาดน้ำ ผู้สูงวัยจะรวมตัวกันในวัดเพื่อสร้างกระท่อมสำหรับทำความสะอาดพระพุทธรูปศากยมุนี และจะแกะสลักแผ่นไม้เพื่อทำเป็นมังกรน้ำ ยาวประมาณ 4-5 เมตร ทาสีใหม่ และมีรอยบาก เวลาสาดน้ำนั้น หญิงสาวจะเทน้ำมงคลลงลงไปในรางน้ำหรือมังกรน้ำ น้ำจึงจะไหลลงไปเพื่อล้างฝุ่นพระพุทธรูป

ส่วนเทศกาลสาดน้ำของชาวไตนั้น จะจัดกิจกรรมเฉลิมฉลองเป็นเวลา 3-7 วัน โดยวันแรกมีความหมายว่าเป็นวันตาย ชาวไตคิดว่าวันนี้เป็นวันโชคร้าย จึงไม่สระผม ไม่ตัดผมและไม่ทำงานด้วย ผู้คนจะพากันไปจ่ายตลาด แข่งเรือมังกร และจัดงานบุญบั้งไฟ  วันที่สองมีความหมายว่าเป็นวันเหม็น ถือว่าไม่สะอาด ทุกคนต้องอาบน้ำ สระผม ตัดผม เปลี่ยนเสื้อผ้าสะอาด ทำความสะอาดพระพุทธรูปและเจดีย์ ตอนเย็นจะไปจ่ายตลาด ปล่อยโคมไฟขงเป้ง จุดดอกไม้ไฟ เพื่อขจัดความทุกข์ โรคภัยไข้เจ็บ สิ่งอัปมงคลและสิ่งสกปรกในที่ผ่านไป และเข้าสู่ปีใหม่สะอาดเรียบร้อย ตามปฏิทินของชาวไต สองวันนี้ถือเป็น "วันที่ว่างเปล่า" และไม่ได้ถูกนับในปีเก่าหรือปีใหม่ วันที่สามเป็นวันขึ้นปีใหม่อย่างเป็นทางการ

เทศกาลสาดน้ำในยูนนาน

ชาวไตเชื่อว่า ในช่วงเทศกาล ใครถูกสาดน้ำมากที่สุด ก็จะมีความสุขมากที่สุดในปีใหม่ การสาดน้ำต่อกัน ยังสื่อถึงความปรารถนาที่ดีงามของชาวไต ที่อวยพรให้มีความปลอดภัยและความสุขตลอดทั้งปี

00:00:00

  • เสียงข่าวประจำวัน (07-06-2565)

  • สานสัมพันธ์ไทย-จีน (07-06-2565)

  • เสียงคุยกันวันละประเด็น (07-06-2565)

  • เสียงข่าวประจำวัน (06-06-2565)

  • สานสัมพันธ์ไทย-จีน (06-06-2565)

周旭