25 ปี ฮ่องกงกลับคืนสู่มาตุภูมิ (1)

2022-07-05 16:21:07 | CRI
Share with:

25 ปี ฮ่องกงกลับคืนสู่มาตุภูมิ (1)

ปีนี้เป็นปีที่ 25 ที่เขตบริหารพิเศษฮ่องกงกลับคืนสู่มาตุภูมิ นอกจากทิวทัศน์และวัฒนธรรมที่เด่นชัดแล้ว เขตฮ่องกงยังมีความได้เปรียบหลายประการ อาทิ เป็นเศรษฐกิจเสรีที่สุดในโลก ตั้งอยู่ในเขตอ่าวใหญ่กวางตุ้ง-ฮ่องกง-มาเก๊า ซึ่งมีการพัฒนาเร็วที่สุดในบรรดาพื้นที่อ่าวหลักสี่แห่งของโลก สถาบันระหว่างประเทศสำคัญ ๆ ของโลกก็ให้ความสนใจต่อเขตฮ่องกงด้วย บรรดาธนาคาร top 100 ของโลก เกินกว่า 75% มีสาขาในเขตฮ่องกง และ 20 กองทุนหุ้นเอกชนใหญ่ที่สุดในโลกก็มี 15 แห่งตั้งสำนักงานในเขตฮ่องกง และมีไม่น้อยเป็นสำนักงานใหญ่ระดับภูมิภาคด้วยซ้ำ ทั้งนี้ ล้วนสะท้อนให้เห็นถึงความสำคัญของ “เขตบริหารพิเศษฮ่องกง”

ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1997 เป็นต้นมา เขตฮ่องกงเป็นที่เรียกกันว่า “หน่วยเศรษฐกิจเสรีที่สุดในโลก” ติดต่อกันเป็นเวลา 25 ปี จาก “รายงานเสรีภาพทางเศรษฐกิจโลกประจำปี ค.ศ. 2021” ของสถาบันวิจัย Fraser ประเทศแคนาดา ระบุว่า เขตฮ่องกงยังคงอยูในอันดับหนึ่งทางด้าน “เสรีภาพทางการค้าระหว่างประเทศ” และ “การดูแล” จากรายการการประเมินใหญ่ทั้งหมด 5 รายการ

เขตฮ่องกงเป็นศูนย์กลางทางการเงินอันดับหนึ่งของทวีปเอเชีย จากรายงาน “ดัชนีศูนย์กลางการเงินโลก” ที่ประกาศโดยกลุ่มบริษัทซีเยนกรุ๊ป (Z/Yen Group) ประเทศอังกฤษและสถาบันวิจัยการพัฒนาที่ครอบคลุมของจีน ระบุว่า อันดับโดยรวมของเขตฮ่องกงยังคงอยู่ในอันดับ 3 ของโลก ขณะเดียวกันเขตฮ่องกงยังมีความสามารถในการแข่งขันอันดับ 1 ในทวีปเอเชีย จาก “รายงานความสามารถในการแข่งขันของบุคลากรทั่วโลกประจำปี ค.ศ. 2021” ที่ประกาศโดยสถาบันระหว่างประเทศเพื่อการพัฒนาการจัดการของเมืองโลซาน ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ระบุว่า ในปี ค.ศ. 2021 ที่ผ่านมา ความสามารถด้านการแข่งขันของเขตฮ่องกงจัดอยู่ในอันดับ 1 โดยเพิ่มขึ้น 3 อันดับจากปีที่แล้ว

อันที่จริงแล้วเขตฮ่องกงอยู่ในแนวหน้าในอีกหลายขอบเขต หลายปีมานี้ สถาบันและสื่อสิ่งพิมพ์ระหว่างประเทศที่เชื่อถือได้ จัดอันดับเขตฮ่องกงมากมาย เช่น ระบบการเงินโลกอยู่ในอันดับ 1 สภาพแวดล้อมในการประกอบธุรกิจทั่วโลกอยู่ในอันดับ 1 ติดต่อกันเป็นเวลา 5 ปี ความปลอดภัยของโครงสร้างพื้นฐานอยู่ในอันดับ 1 ของโลก เป็นต้น

ตั้งแต่เขตฮ่องกงกลับคืนสู่มาตุภูมิแม้ว่าเขตฮ่องกงจะเผชิญหน้ากับวิกฤตการณ์ครั้งใหญ่ในทวีปเอเชีย สถานการณ์โรคซาร์ส วิกฤตการเงินโลก เหตุการณ์การแก้ไขกฎหมายผู้ลี้ภัย และการแพร่ระบาดของโควิด-19 เป็นต้น แต่ต้องยอมรับว่า การปฏิบัติตามแนวคิด “หนึ่งประเทศสองระบบ” ในเขตฮ่องกงได้บรรลุซึ่งความสำเร็จเป็นที่ยอมรับจากทั่วโลก

ข้อมูลที่เกี่ยวข้องสะท้อนให้เห็นอย่างชัดเจนว่า เมื่อปี ค.ศ. 1997 ที่ผ่านมา จีดีพีของเขตฮ่องกงอยู่ที่ 1.37 ล้านล้านดอลลาร์ฮ่องกง ส่วนจีดีพีต่อหัวอยู่ที่ 192,000 ดอลลาร์ฮ่องกง จนถึงปี ค.ศ. 2021 ที่ผ่านมา จีดีพีของเขตฮ่องกงอยู่ที่ 2.86 ล้านล้านดอลลาร์ฮ่องกง ส่วนจีดีพีต่อหัวมีมูลค่ามากกว่า 380,000 ดอลลาร์ จำนวนบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฮ่องกงจาก 619 แห่ง ในปี ค.ศ. 1997 เพิ่มขึ้นเป็นกว่า 2,500 แห่งในปัจจุบัน ทุนสำรองเงินตราต่างประเทศของเขตฮ่องกงมีเกือบ 500,000 ล้านดอลลาร์ฮ่องกง คิดเป็นมากกว่า 5 เท่าเมื่อเทียบกับจำนวนทุนสำรองเงินตราต่างประเทศของเขตฮ่องกงเมื่อใน ค.ศ. 1997

25 ปี ฮ่องกงกลับคืนสู่มาตุภูมิ (1)

กล่าวได้ว่าการกลับสู่มาตุภูมิได้นำโอกาสใหม่ ๆ มากมายมาสู่เขตฮ่องกง ข้อตกลง “แผนการว่าด้วยการสร้างสรรค์ความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจการค้าที่แน่นแฟ้นยิ่งขึ้นระหว่างจีนแผ่นดินใหญ่และเขตฮ่องกง” (CEPA) รวมถึงแพลตฟอร์มความร่วมมือทางภูมิภาคระดับต่าง ๆ ทำให้เขตฮ่องกงสามารถบุกเบิกการตลาดในพื้นที่จีนแผ่นดินใหญ่มากยิ่งขึ้น ดึงดูดทุนต่างชาติมาดำเนินการลงทุนในจีนแผ่นดินใหญ่โดยผ่านเขตฮ่องกง ขณะเดียวกันยังช่วยให้ผลิตภัณฑ์และบริการของจีนแผ่นดินใหญ่สามารถออกสู่โลกภายนอก เขตฮ่องกงทำตัวเป็นเขตนำร่องการเปิดกว้างทางการเงินของประเทศจีน ซึ่งมีพื้นที่การพัฒนากว้างใหญ่มากยิ่งขึ้น

ทั้งนี้ แผนพัฒนาประเทศ ระยะ 5 ปี ฉบับที่ 14 ได้ระบุอย่างชัดเจนว่า รัฐบาลจีนจะยังคงสนับสนุนเขตฮ่องกงต่อไป ยกฐานะศูนย์กลางทางการเงิน การเดินเรือ และการค้าระหว่างประเทศให้สูงขึ้น ส่งเสริมความเข้มแข็งของเขตฮ่องกงในฐานะศูนย์กลางทางธุรกิจเงินหยวนจีนนอกชายฝั่งระดับโลก และศูนย์กลางการบริหารสินทรัพย์และการบริหารความเสี่ยงระหว่างประเทศ สนับสนุนเขตฮ่องกงยกฐานะศูนย์กลางการบินระหว่างประเทศให้สูงขึ้น ส่งเสริมเขตฮ่องกงดำเนินการสร้างสรรค์ศูนย์นวัตกรรมและเทคโนโลยีระหว่างประเทศ และศูนย์การค้าทรัพย์สินทางปัญญาระดับภูมิภาค ตลอดจนการพัฒนาเป็นศูนย์กลางการแลกเปลี่ยนศิลปวัฒนธรรมระหว่างจีน-ต่างประเทศ

ทุกวันนี้เขตฮ่องกงกำลังอยู่ท่ามกลางช่วงเวลาสำคัญจากความวุ่นวายไปสู่การบริหารจัดการ เพื่อบรรลุซึ่งความเจริญรุ่งเรือง ผู้คนต่างหวังเป็นอย่างยิ่งว่า เขตฮ่องกงสามารถใช้ความได้เปรียบเป็นพิเศษของตน เข้าร่วมแผนการพัฒนาการยิ่งใหญ่ของประเทศชาติ ยังคงรักษาความเจริญรุ่งเรืองและความมั่นคงเป็นเวลานาน เข้าร่วมงานการพัฒนาสร้างสรรค์เขตอ่าวใหญ่กวางตุ้ง-ฮ่องกง-มาเก๊า เพิ่มเนื้อหาของแบรนด์ "เขตบริหารเศษฮ่องกง" ให้มากยิ่งขึ้นต่อไป

(Tim/Zi)

00:00:00

  • เสียงข่าวประจำวัน (07-06-2565)

  • สานสัมพันธ์ไทย-จีน (07-06-2565)

  • เสียงคุยกันวันละประเด็น (07-06-2565)

  • เสียงข่าวประจำวัน (06-06-2565)

  • สานสัมพันธ์ไทย-จีน (06-06-2565)

周旭