บทวิเคราะห์ “นักปกป้องสิทธิมนุษยชน” คิดจะผิดคำมั่นสัญญาอีก?

เมื่อเร็วๆนี้ นายแอนโทนี บลิงเคน รัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐฯ ประกาศแถลงการณ์ว่า จะใช้มาตรการจำกัดการให้วีซ่าแก่เจ้าหน้าที่ทางการจีนที่อยู่ทั้งในและนอกแดนจีนรวมถึงดินแดนของสหรัฐฯ เนื่องจากปัญหาสิทธิมนุษยชน

กรณีดังกล่าวแสดงให้เห็นว่า นักการเมืองสหรัฐฯที่ติดหนี้ด้านมนุษยชนเป็นมหาศาลต่อชาวโลก  แต่มีความชำนาญที่กลับขาวเป็นดำ และมีลักษณะ “โจรเรียกตะโกนให้จับโจร” คือ ใช้ข้ออ้าง “สิทธิมนุษยชน” เพื่อครองอำนาจความเป็นเจ้าโลก ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความเจ้าเล่ห์และสองมาตรฐานของ “นักปกป้องสิทธิมนุษยชน” ผู้นี้อย่างเต็มที่

แถลงการณ์ที่ประกาศในเว็บไซต์กระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ ดังกล่าวระบุว่า  “สหรัฐฯทุ่มกำลังปกป้องสิทธิมนุษยชนของทั่วโลก และจะใช้มาตรการทางเศรษฐกิจและทางการทูตทั้งหมดอย่างต่อเนื่องเพื่อถามหาความรับผิดชอบ” คำพูดแบบนี้น่าขันจริง ควรแล้วที่ชาวโลกจะประณามถึงการกระทำล่วงละเมิดสิทธิมนุษยชนของสหรัฐฯเอง

สิ่งที่น่าสนใจคือ ก่อนที่นายแอนโทนี บลิงเคนประกาศแถลงการณ์ดังกล่าว ผู้นำจีนและสหรัฐฯได้จัดการพูดคุยแลกเปลี่ยนผ่านระบบวีดีทัศน์ทางไกล นายโจ ไบเดน ประธานาธิบดีสหรัฐฯได้เน้นย้ำคำมั่นสัญญาที่ว่า “ 4 ไม่ทำและ 1 ไม่เจตนา” คือ ไม่ก่อสงครามเย็นไหม่ ไม่มุ่งหวังปรับเปลี่ยนระบอบของจีน ไม่เสริมสร้างพันธมิตรเพื่อต้านจีน ไม่สนับสนุนให้ไต้หวันเป็นเอกราชและไม่มีเจตนาที่จะปะทะกับจีน

ด้านนายสี จิ้นผิงประธานาธิบดีจีนชี้ให้เห็นอย่างชัดเจนว่า สาเหตุโดยตรงที่ทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างจีนกับสหรัฐฯ ตกในสถานการณ์ปัจจุบันคือ “นักการเมืองสหรัฐฯบางคนไม่ได้ปฏิบัติตามความรับรู้ร่วมกันที่เราทั้งสองบรรลุไว้ และไม่ได้ปฏิบัติตามเจตนาเชิงสร้างสรรค์ของประธานาธิบดีไบเดนให้เป็นจริงขึ้น” 

กรณีที่นายแอนโทนี บลิงเคน ใช้ข้ออ้างสิทธิมนุษยชนมาใส่ร้ายจีน ปฏิบัติต่อเจ้าหน้าที่ทางการจีนอย่างไร้เหตุผลนั้น เป็นการผิดต่อความรับรู้ร่วมกันของผู้นำจีนและสหรัฐฯ มองข้ามคำมั่นสัญญาของประธานาธิบดีสหรัฐฯ ดูเหมือนว่าจะฝ่าฝืนคำมั่นสัญญาที่ให้ไว้อีกครั้ง

(Yim/Lin/Cui)

ภาพและเนื้อหาข่าวเป็นลิขสิทธิ์ของ China Face