ท่องจีนตะวันตก เยือนเขตซินเจียง (1)

2019-06-03 13:04:22 | CRI
Share with:

เขตปกครองตนเองชนเผ่าอุยกูร์ซินเจียง ตั้งอยู่บริเวณชายแดนทางภาคตะวันตกเฉียงเหนือของจีน พื้นที่นี้เป็น 1 ใน 5 เขตปกครองตนเองของชนกลุ่มน้อยในประเทศจีน มีพื้นที่ 1,660,000 ตารางกิโลเมตร ถือเป็นหนึ่ง 1 ใน 6 ของพื้นที่ทั้งหมดในประเทศ ที่นี่จึงเป็นเขตบริหารระดับจังหวัดที่ใหญ่ที่สุดของจีน

图片默认标题_fororder_1

พื้นที่ซินเจียงมีมนุษย์อาศัยอยู่ตั้งแต่สมัย 6,000 – 7,000 ปีก่อน ในสมัยราชวงศ์ฮั่นหรือกว่า 2,000 ปีก่อน ได้มีบันทึกทางประวัติศาสตร์เกี่ยวกับเขตซินเจียง หรือ ในสมัยนั้นเรียกว่า “ซีอวี้” ซึ่งหมายความว่า “ดินแดนทางภาคตะวันตก” นับแต่นั้นเป็นต้นมา ราชสำนักกลางจึงมีการจัดตั้งหน่วยงานบริหารท้องถิ่นในพื้นที่ซีอวี้ สมัยราชวงศ์ฮั่นตะวันตก (ซีฮั่น) เพื่อต่อสู้กับการรุกรานของเผ่าซงหนูที่อยู่ทางภาคเหนือ จักรพรรดิฮั่นอู่ตี้ จึงสั่งให้ จาง เชียน ไปเป็นทูตสันถวไมตรียังซีอวี้สองครั้ง ผลปรากฏว่า การเดินทางทั้งสองครั้งนำมาซึ่งการเปิด “เส้นทางสายไหม” สมัยโบราณ ที่เชื่อมจีนกับประเทศอื่น ๆ ในโลกตะวันตก อีกทั้งยังเป็นเส้นทางส่งเสริมการแลกเปลี่ยนทางเศรษฐกิจ  การค้า วัฒนธรรม และด้านอื่น ๆ ระหว่างโลกตะวันออกและโลกตะวันตก จนมีผลกระทบอันลึกซึ้งทางประวัติศาสตร์จีนและโลกมาจนถึงทุกวันนี้

เขตซินเจียง ตั้งอยู่ใจกลางเส้นทางสายไหม ดังนั้น จึงมีฐานะและบทบาทสำคัญในเส้นทางดังกล่าว ต่อมาปี ค.ศ. 1884 ในสมัยราชวงค์ชิง  จักรพรรดิเฉียนหลง ได้เปลี่ยนชื่อดินแดนซีอวี้ ซึ่งอยู่ภายใต้การปกครองของราชสำนักชิงเป็น “ซินเจียง” ซึ่งหมายความว่า “ดินแดนแห่งใหม่” หลังจากราชสำนักชิงได้ปราบปรามกลุ่มก่อความวุ่นวาย “ซุงการ์”  (Dzungar) และยึดอำนาจการบริหารซินเจียงกลับมาอีกครั้ง คำว่า “ซินเจียง” จึงมีความหมายโดยนัยเพิ่มอีกประการ คือ “ดินแดนเก่ากลับมาใหม่” และคำนี้ก็ถูกใช้มาจนถึงทุกวันนี้

图片默认标题_fororder_2

พรมแดนของเขตซินเจียงมีความยาวกว่า 5,600 กิโลเมตร เขตนี้จึงมีพรมแดนติดกับประเทศเพื่อนบ้านมากที่สุดในประเทศจีน จำนวน 8 ประเทศ ได้แก่ รัสเซีย คาซักสถาน คีร์กีซสถาน ทาจิกิสถาน ปากีสถาน มองโกเลีย อินเดีย และอัฟกานิสถาน ปัจจัยทางประวัติศาสตร์และที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ของเขตซินเจียงทำให้ที่นี่เป็นเขตที่มีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งในการเชื่อมโยงประสานงาน ไม่ว่าจะเป็นเส้นทางสายไหมสมัยโบราณ  หรือเส้นทางสมัยไหมสมัยใหม่ ซึ่งมีบทบาทสำคัญในการสร้างแถบเศรษฐกิจเส้นทางสายไหมภายใต้ข้อริเริ่ม “หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง”

เส้นทางสายไหมสมัยใหม่นี้ แท้ที่จริงแล้วมีชื่อทางการว่า “สะพานแผ่นดินยูเรเชียนใหม่” (New Eurasian Land Bridge) โดยในปี ค.ศ. 1990 สะพานแห่งนี้ได้เชื่อมต่อเป็นผลสำเร็จ ความยาวทั้งสิ้น 10,900 กิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่กว่า 300 ประเทศและภูมิภาค มีจุดเริ่มต้นจากเมืองท่าเรือเหลียนหยุนก่าง มณฑลเจียงซูของจีน ไปทางทิศทางตะวันตกผ่านเส้นทางรถไฟหล่งไห่ (เมืองเหลียนหยุนก่าง-หลานโจว) เส้นทางรถไฟหลายซิน (เมืองหลานโจว-เขตซินเจียง) และเส้นทางรถไฟทางภาคเหนือของเขตซินเจียง ถึงเมืองท่าเรืออาลาซานโข่ว เข้าสู่ประเทศคาซักสถาน  ผ่านประเทศรัสเซีย เบลารุส โปแลนด์ เยอรมนี ไปจนถึงจุดหมายปลายทางที่เมืองรอตเตอร์ดัม ในประเทศเนเธอร์แลนด์ ซึ่งเป็นเมืองท่าใหญ่เป็นอันดับแรกของโลก เนื่องจากสะพานแผ่นดินยูเรเชียนใหม่นี้  ส่วนมากเป็นเส้นทางเดิมของทางสายไหมสมัยโบราณ ดังนั้น สะพานแผ่นดินยูเรเชียนใหม่ จึงมีอีกชื่อหนึ่งว่า “เส้นทางสายไหมสมัยใหม่”

图片默认标题_fororder_3

ลักษณะภูมิประเทศของเขตซินเจียง หากสรุปสั้น ๆ คือ สามภูเขาสองแอ่งกระทะ ประกอบด้วย เทือกเขาอัลไตทางตอนเหนือสุดของเทือกเขาเทียนซานในภาคกลางของซินเจียง และเทือกเขาคุนหลุน ซึ่งอยู่ในพื้นที่ทางตอนใต้สุดของเขตซินเจียง ระหว่าง 3 เทือกเขานี้ เป็นพื้นที่แอ่งกระทะ ประกอบด้วย แอ่งจุงการ์และแอ่งทาริม น้ำจากหิมะบน 3 เทือกเขาเหล่านี้ เป็นต้นกำเนิดของแม่น้ำกว่า 500 สายในเขตซินเจียง เมื่อแม่น้ำไหลผ่าน ก็เกิดเป็นโอเอซิสขึ้นมา เหมาะแก่การทำปศุสัตว์

นอกจากนี้ ในเขตซินเจียงยังมีทั้งภูเขาหิมะ แม่น้ำลำธาร ทะเลสาบ  ป่าไม้ ทุ่งหญ้า และทะเลทราย กล่าวได้ว่า มีทรัพยากรธรรมชาติที่หลากหลายและอุดมสมบูรณ์ ส่วนภูมิอากาศในเขตซินเจียง แบ่งออกเป็น 4 ฤดูอย่างชัดเจน มีปริมาณแสงอาทิตย์มากเพียงพอ ดังนั้น จึงเป็นแหล่งปลูกผลไม้ที่มีชื่อเสียง เช่น องุ่น แคนตาลูป และพุทรา รวมไปถึงผลไม้ตากแห้งนานาชนิดและถั่วชนิดต่าง ๆ

พื้นกว่า 1,660,000 ตารางกิโลเมตรของเขตซินเจียง มีชนกลุ่มน้อยอาศัยอยู่ 47 เผ่า อาทิ เผ่าฮั่น อุยกูร์ คาซัก หุย และมองโกเลีย ส่งผลให้พื้นที่บริเวณนี้มีวัฒนธรรมอันหลากหลาย พร้อมทั้งมีทรัพยากรธรรมชาติอันอุดมสมบูรณ์ เขตซินเจียงจึงเป็นแหล่งท่องเที่ยวอันโดดเด่น โดยทั่วทั้งเขตมีสถานที่ท่องเที่ยวกว่า 1,100 แห่ง มากเป็นอันดับ 1 ของจีน

图片默认标题_fororder_4

การเดินทางไปเยือนเขตซินเจียงสามารถทำได้หลายวิธี ทั้งการโดยสารรถไฟ  เครื่องบิน หรือ จะขับรถไปเองก็ได้ นักท่องเที่ยวส่วนใหญ่มักเลือกเดินทางด้วยเครื่องบินซึ่งประหยัดเวลาการเดินทาง เนื่องจากเขตซินเจียงมีขนาดใหญ่ แหล่งท่องเที่ยวอยู่ไกลกันมาก บางครั้งจึงต้องใช้เวลาขับรถทั้งวันเพื่อไปยังอีกแหล่งท่องเที่ยวหนึ่ง ซึ่งหากมีเวลาไม่มากพอ ไม่แนะนำให้ไปเที่ยวซินเจียงเพราะถือว่าไม่คุ้ม ปัจจุบัน เขตซินเจียงกำลังทุ่มเทพัฒนารถไฟความเร็วสูง เดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 2014 รถไฟความเร็วสูงเส้นทางหลานโจว-อุรุมชี เปิดให้บริการอย่างเป็นทางการ ลดระยะเวลาการเดินทางจาก 16 ชั่วโมง เหลือ 9 ชั่วโมง นับเป็นการเปิดหน้าใหม่แห่งประวัติศาสตร์รถไฟความเร็วสูงของเขตซินเจียง ต่อมาในปี ค.ศ. 2018  รถไฟความเร็วสูงเส้นทางนี้ทำสถิติรองรับผู้โดยสารกว่า 23,700,000 คน  นำความสะดวกสบายมายังประชาชนในพื้นที่เป็นอย่างมาก นอกจากนี้ ในอีก 10 ปีข้างหน้า เขตซินเจียงยังมีแผนพัฒนาเส้นทางรถไฟความเร็วสูงเพิ่มขึ้นอีก 5 เส้นทาง เพื่อเดินทางมายังกรุงปักกิ่ง เมืองชิงเต่า เมืองเหลียนหยุนก่าง เมืองซานย่า และนครกว่างโจว เมื่อเสร็จสมบูรณ์ การเดินทางไปเขตซินเจียงจะสะดวกสบายมากขึ้นกว่าเดิมมาก  

ช่วงที่เหมาะแก่การท่องเที่ยวซินเจียง คนส่วนใหญ่แนะนำว่า ให้ไปเยือนในช่วงเดือนมิถุนายน - กันยายน เนื่องจากหลังเดือนมิถุนายนเป็นช่วงที่ดอกไม้ในทุ่งหญ้าบานสะพรั่ง นอกจากนี้ เดือนกันยายนยังเป็นช่วงที่ผลไม้ชนิดต่าง ๆ สุก อย่างไรก็ตาม การท่องเที่ยวซินเจียงในช่วงกลางเดือนพฤษภาคมก็ไม่ได้ถือว่าแย่ แม้จะไม่มีดอกไม้บานเต็มทุ่งหญ้าหรือผลไม้ให้ทานก็ตาม แต่ก็เป็นช่วงเวลาที่มีนักท่องเที่ยวไม่มาก อากาศไม่ร้อนไม่หนาว มีบรรยากาศอันเงียบสงบ และไปเที่ยวได้อย่างสบายใจ

(Tim/Zi)

00:00:00

  • เสียงข่าวประจำวัน (07-06-2565)

  • สานสัมพันธ์ไทย-จีน (07-06-2565)

  • เสียงคุยกันวันละประเด็น (07-06-2565)

  • เสียงข่าวประจำวัน (06-06-2565)

  • สานสัมพันธ์ไทย-จีน (06-06-2565)

郑元萍