บทวิเคราะห์: อังกฤษแทรกแซงการตรากฎหมายความมั่นคงในฮ่องกง เป็นการทำเกินหน้าที่ของ “ผู้เช่าพักที่สัญญาหมดอายุไปแล้ว”

2020-06-07 17:41:42 | CRI
Share with:

เมื่อเร็ว ๆ นี้ สภาผู้แทนประชาชนแห่งชาติจีนลงมติอนุมัติให้ตรากฎหมายความมั่นคงในฮ่องกงด้วยคะแนนเสียงท่วมท้น สิ่งที่คาดการณ์ได้ไม่ยาก คือ เมื่อมติดังกล่าวผ่านแล้ว สหรัฐอเมริกา อังกฤษ  ออสเตรเลีย และแคนาดา ได้ออกแถลงการณ์ร่วมประณามจีนว่าฝ่าฝืน “ข้อผูกพันระหว่างประเทศ” ที่กำหนดโดย “แถลงการณ์ร่วมจีน-อังกฤษ” ปี 1984 เราลองมาศึกษาเอกสารฉบับนี้ดูว่า จีนมีข้อบกพร่องอย่างไรบ้าง

ก่อนอื่น เป้าหมายสุดท้ายและเนื้อหาใจความของ “แถลงการณ์ร่วมจีน-อังกฤษ” ปี 1984 ระบุให้จีนฟื้นฟูอธิปไตยในฮ่องกง ด้วยเหตุนี้  หลังปี 1997 ที่ฮ่องกงกลับคืนสู่ปิตุภูมิ สิทธิประโยชน์และภาระหน้าที่ที่อังกฤษมีต่อฮ่องกงถือว่าเสร็จสิ้นเรียบร้อย พูดจากอีกมุมหนึ่ง คือ  “แถลงการณ์ร่วมจีน-อังกฤษ” ปี 1984 นั้น หมดอายุไปแล้ว บางคนเน้นถึง “พันธะทางกฎหมาย” ของเอกสารดังกล่าว ซึ่งเอกสารประวัติศาสตร์ฉบับนั้นเคยมี แต่ปัจจุบันไม่มีอีกแล้ว

สิ่งที่ต้องชี้ให้เห็น คือ ข้อที่สามของ “แถลงการณ์ร่วมจีน-อังกฤษ” ปี 1984 ที่กำหนดหลักการและนโยบายพื้นฐานสำหรับการบริหารฮ่องกงของจีน ซึ่งเป็นเนื้อหาของ “กฎหมายพื้นฐานของฮ่องกง”  อยู่แล้ว ข้อที่ 3 ดังกล่าวเป็นคำแถลงของจีนเพียงฝ่ายเดียวเท่านั้น  เป็นคำมั่นสัญญาของจีนฝ่ายเดียว ไม่เกี่ยวข้องกับอังกฤษ ไม่เป็นภาระหน้าที่ทางสิทธิประโยชย์แบบพหุภาคี ตามเนื้อหาของข้อที่ 3 เราจะพบวลีว่า “รัฐบาลจีนมีคำแถลงว่า” อย่างชัดเจน ซึ่งต่างจากข้ออื่นทุกข้อที่มีเนื้อหาผูกพันถึงสองฝ่าย ซึ่งเริ่มต้นเนื้อหาด้วยคำว่า “รัฐบาลจีนและรัฐบาลอังกฤษร่วมกันแถลงว่า” อย่างเห็นได้ชัด ด้วยเหตุนี้ หากประเทศอื่นอยากใช้สิทธิอำนาจตรวจสอบการบริหารฮ่องกงของจีนโดยอ้างอิงเนื้อหาข้อที่ 3 ของ “แถลงการณ์ร่วมจีน-อังกฤษ” ปี 1984 นั้น  ต้องถือว่าเป็นความผิดที่รุนแรง อย่างไรก็ตาม การประณามจีนด้วยเอกสารที่หมดอายุไปแล้วนั้นไม่มีเหตุผล เพราะเอกสารหมดอายุไปแล้วนั่นเอง

ต่อไป เรามาเข้าใจความเป็นมาของการตรากฎหมายความมั่นคงในฮ่องกงกัน “กฎหมายพื้นฐานของฮ่องกง” ที่กล่าวถึงนั้นและรัฐธรรมนูญของจีนร่วมเป็นพื้นฐานทางกฎหมายของเขตบริหารพิเศษฮ่องกง ข้อที่ 23 ของ “กฎหมายพื้นฐานของฮ่องกง” ระบุว่า เนื่องจากเคารพต่อระบบกฎหมายของฮ่องกง รัฐบาลจีนสั่งให้เขตบริหารพิเศษฮ่องกงตรากฎหมายทางการคุ้มครองความมั่นคงของประเทศ

แต่ทว่า ปัจจุบัน ฮ่องกงกลับคืนสู่ปิตุภูมิเป็นเวลา 23 ปีแล้ว เขตบริหารพิเศษฮ่องกงยังไม่เสร็จสิ้นการตรากฎหมายเกี่ยวกับพฤติกรรมการเป็นกบฏ การแบ่งแยกประเทศ การปลุกระดมก่อกบฏและโค่นล้มอำนาจรัฐ ซึ่งหมายความว่า “กฎหมายพื้นฐานของฮ่องกง” ยังไม่ถูกบังคับใช้อย่างสมบูรณ์แบบ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2019 เป็นต้นมา ภายหลังมีกลุ่มอิทธิพลแบ่งแยกฮ่องกงออกจากประเทศและกลุ่มหัวรุนแรงมีอิทธิพลมากขึ้น การจลาจลมีความรุนแรงยิ่งขึ้น ตลอดจนอิทธิพลต่างประเทศมีการแทรกแซงกิจการภายในของฮ่องกง การขาดกฎหมายความมั่นคงของประเทศจึงเป็นเรื่องน่าเป็นห่วงอย่างยิ่ง

ที่อื่นบนโลกใบนี้ทุกที่มีกฎหมายเกี่ยวกับการห้ามและปราบปรามพฤติกรรมทำลายอธิปไตยของประเทศ บูรณภาพเหนือดินแดน และความมั่นคงของประเทศกันทั้งนั้น มติสภาผู้แทนประชาชนแห่งชาติจีนนั้นมีวัตถุประสงค์อุดช่องโหว่ทางกฎหมายด้านนี้ของฮ่องกง การตรากฎหมายครั้งนี้ของจีนเจาะจงเพียงผู้ฝ่าฝืนกฎหมายซึ่งมีจำนวนน้อยมาก จะไม่เป็นภัยต่อการบริหารปกครองตนเองในระดับสูงของฮ่องกง ตลอดจนสิทธิประโยชน์และเสรีภาพที่ชอบด้วยกฎหมายของผู้พำนักในฮ่องกงรวมถึงนักลงทุนต่างประเทศ

สิ่งที่เป็นเพียงกิจการภายในประเทศของจีนนั้น ดูมีทีท่าว่าจะทำให้บางประเทศที่คิดถึงประวัติศาสตร์เมืองขึ้นของไข่มุกบูรพาอดไม่ได้ต้องมีการเคลื่อนไหวบ้าง จนต้องร่วมกันประณามจีน เช่นเดียวกับผู้เช่าและพรรคพวกของเขา หากขืนประณามเจ้าของที่พักโดยอ้างว่า เจ้าของไม่เคารพสัญญาเช่า แต่ปัญหาคือ สัญญาเช่าฉบับนี้หมดอายุไปนานแล้ว และสิ่งที่เจ้าของที่พักทำนั้น เป็นเพียงการติดกุญแจกันขโมยที่ประตูของตนเท่านั้น

Dan/Tim

00:00:00

  • เสียงข่าวประจำวัน (07-06-2565)

  • สานสัมพันธ์ไทย-จีน (07-06-2565)

  • เสียงคุยกันวันละประเด็น (07-06-2565)

  • เสียงข่าวประจำวัน (06-06-2565)

  • สานสัมพันธ์ไทย-จีน (06-06-2565)

李秀珍