การบริโภคอย่างประหยัดกลายเป็นเทรนด์ใหม่ในสังคมจีน (ตอนที่ 1)

2020-08-27 15:11:18 | ไชน่ามีเดียกรุ๊ป
Share with:

การแพร่ระบาดของโควิด-19 สอนให้คนจีนให้ความสำคัญกับการบริโภคที่ปลอดภัย ดีต่อสุขภาพ สีเขียวเป็นมิตรกับระบบนิเวศ และความทันสมัย วิธีการบริโภคที่ดีแบบใหม่หลายอย่างเป็นที่รู้จักและถูกนำไปใช้เช่น การแบ่งอาหาร ใช้ตะเกียบกลาง อาหารจานเล็ก อาหารชุดที่ช่างน้ำหนัก ฯลฯ เป็นที่นิยมกันในเมืองต่างๆ ของจีน ส่งเสริมการประหยัดอาหารให้กลายเป็นเทรนด์ใหม่ในสังคม

การบริโภคอย่างประหยัดกลายเป็นเทรนด์ใหม่ในสังคมจีน (ตอนที่ 1)_fororder_a

เมื่อเร็วๆ นี้ ปธน.สี จิ้นผิง ของจีนสั่งการให้สร้างกลไกการปฏิบัติงานระยะยาว ลดพฤติกรรมการบริโภคที่สิ้นเปลือง โดยชี้ว่าการบริโภคแบบสิ้นเปลืองทิ้งขว้างเป็นเรื่องน่าอับอาย การประหยัดอาหารจะได้รับเกียรติจากทั่วทั้งสังคมของจีน ต่อมาสถานีโทรทัศน์ส่วนกลางของจีนก็ได้วิจารณ์รายการถ่ายทอดสดการแข่งขันกินอาหารชิงตำแหน่ง “ราชากระเพาะใหญ่” ว่าทำให้เกิดการสิ้นเปลืองอย่างมาก แพลตฟอร์มวิดีโอต่างๆ พากันแสดงท่าทีสนับสนุน เมื่อวันที่ 13 สิงหาคม DOUYU.COM ออกมาระบุว่าจะกวดขันในเรื่องการตรวจสอบและเซ็นเซอร์เนื้อหาของการถ่ายทอดสด ส่วน DOUYIN.COM หรือ TIKTOK ก็ระบุว่า ถ้าผู้ใช้ search keyword “ถ่ายทอดสดการทานอาหาร” หรือ “ราชากระเพาะใหญ่” ก็จะมีคำเตือนขึ้นมาว่า “หยุดพฤติกรรมสิ้นเปลือง ทานอาหารในปริมาณที่พอเหมาะ” ขณะเดียวกัน สมาพันธ์ธุรกิจอาหารจีนของโลก กับสมาคมธุรกิจร้านอาหารในหลายพื้นที่ของจีนต่างพากันออกมารณรงค์ให้ลูกค้าบริโภคอาหารอย่างพอเพียง

หลายปีมานี้ธุรกิจร้านอาหารของจีนมีปัญหาการทิ้งอาหารโดยไม่จำเป็นอย่างรุนแรง ซึ่งมี “รายงานการทิ้งอาหารของธุรกิจร้านอาหารในเมืองของจีนประจำ 2018” คำนวณว่า สำหรับธุรกิจร้านอาหารในเมืองของจีน แต่ละปีเฉพาะอาหารตามสั่งที่นำมาเสิร์ฟบนโต๊ะในร้าน มียอดการทิ้งอยู่ระหว่าง 17 – 18 ล้านตันต่อปี ซึ่งจำนวนนี้มากเพียงพอที่จะทำให้ประชากรจำนวน 30 ล้านคนทานได้นาน 1 ปี ซึ่งโครงการอาหารโลกประเมินว่าภายใต้การระบาดของโควิด-19 จะมีประชากรทั่วโลกที่อดอยากเพิ่มขึ้น 82% ในปีนี้ ซึ่งตัวเลขจะเพิ่มขึ้นถึง 265 ล้านคน และขณะที่ทั่วโลกมีประชากร 2,000 ล้านคน ที่ไม่สามารถมีอาหารการกินที่ปลอดภัย มีคุณค่าทางโภชนาการเพียงพอ

ตั้งแต่จัดการประชุมสมัชชาผู้แทนพรรคคอมมิวนิสต์จีนทั่วประเทศ ครั้งที่ 18 เมื่อปี 2012 เป็นต้นมา คณะกรรมการกลางพรรคคอมมิวนิสต์จีนแสดงท่าทีที่ไม่เห็นด้วยต่อพฤติกรรมการทิ้งอาหารอย่างสิ้นเปลืองมาหลายต่อหลายครั้ง ท้องที่ต่างๆ ของจีนพากันใช้ “ปฏิบัติการหมดจาน” เพื่อแก้ปัญหานี้อย่างได้ผล แต่ปัจจุบันกฎเกณฑ์ว่าด้วยการประหยัดอาหารกำลังเข้าสู่กระบวนการนิติบัญญัติ โดยเมื่อวันที่ 13 สิงหาคม คณะกรรมการปฏิบัติงานด้านกฎหมายจัดตั้งทีมเฉพาะกิจ เพื่อดำเนินงานด้านบัญญัติกฎหมายลงโทษพฤติกรรมทิ้งขว้างอาหารอย่างไม่มีเหตุผล พร้อมแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายประกันความปลอดภัยของธัญญาหารให้มีระบุในข้อนี้อย่างชัดเจน

การบริโภคอย่างประหยัดกลายเป็นเทรนด์ใหม่ในสังคมจีน (ตอนที่ 1)_fororder_b

อันที่จริง อุปทานและอุปสงค์ด้านธัญญาหารของจีน อยู่ในภาวะสมดุลในลักษณะตึงตัวเป็นเวลายาวนาน มองในแง่อุปทาน อิทธิพลจากการระบาดของโควิด-19 กับภัยตั๊กแตนแอฟริกาตะวันออกที่ทับซ้อนในปีนี้ ทำให้ประเทศการเกษตรใหญ่กว่า 10 ประเทศ เช่น ไทย เวียดนาม กัมพูชา รัสเซีย ฯลฯ พากันประกาศจำกัดการส่งออกธัญญาหาร การนำเข้าของจีนย่อมมีผลกระทบ แล้วในด้านการตอบสนองความต้องการภายในประเทศจีนก็เผชิญกับอุปสรรคเช่นกัน เนื่องจากทางภาคใต้ของจีนประสบอุกทกภัยที่ร้ายแรงมากตั้งแต่เข้าสู่หน้าฝนของปีนี้ ส่งผลให้ไร่นาบางส่วนเสียหาย การเก็บเกี่ยวมีจำนวนไม่มาก หรือไม่ได้เลย จนถึงวันที่ 5 สิงหาคม ยอดการเก็บเกี่ยวข้าวสาลีจากทั่วประเทศคิดเป็น 42.85 ล้านตัน ลดลง 9.38 ล้านตัน คิดเป็น 1 ใน 4 เมื่อเทียบกับของปีก่อน นับว่าเป็นปัจจัยที่กระทบต่อความปลอดภัยทางธัญญาหารทำให้ประเด็นการประหยัดอาหารมีบทบาทมากขึ้น

เมื่อพิจารณาจากอุปสงค์ด้านธัญญาหาร ศาสตราจารย์หง เทา จากสถาบันเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุตสาหกรรมและพาณิชยกรรมปักกิ่งชี้ว่า ภายใต้ดุลยภาพใหม่ที่เกิดจากการระบาดของโควิด-19 คนจีนสนใจต่อการบริโภคที่ปลอดภัยมากยิ่งขึ้น การบริโภคที่ดีต่อสุขภาพ สีเขียว เป็นมิตรกับระบบนิเวศ และเทคโนโลยี ด้วยวิธีการบริโภคแบบใหม่อย่างที่ได้กล่าวในข้างต้น เมืองต่างๆ ของจีนก็ส่งเสริมให้ตระหนักถึงการประหยัดธัญญาหารเพิ่มมากขึ้น พร้อมกันนั้นการบริโภคอาหารและเครื่องดื่มที่ร้านอาหารของผู้บริโภคจีนก็จะเปลี่ยนจากการให้ความสำคัญด้านปริมาณมุ่งเน้นที่ด้านคุณภาพ

เมื่อวันที่ 12 สิงหาคม บริษัท MEITUAN ผู้ประกอบด้านธุรกิจดิลิเวอรี่เจ้าใหญ่ของจีน จับมือกับสมาคมการโรงแรมแห่งประเทศจีน ออกข้อริเริ่มซึ่งมีเนื้อหาให้จัดตั้งบทลงโทษที่เจาะจงต่อพฤติกรรมทิ้งอาหารอย่างสิ้นเปลืองของผู้บริโภค โดยระบุว่า ร้านอาหารควรแจ้งให้ลูกค้าที่เข้ามารับประทาน buffet ให้ทราบก่อนไปตักอาหารว่าถ้าทานไม่หมดจะเก็บค่าอาหารและค่าบริการเพิ่ม แหล่งข่าวแจ้งว่า ร้านbuffet บางร้านในเมืองหนานจิง เมืองเอกในมณฑลเจียงซูของจีน ใช้วิธีการเรียก “เงินมัดจำ” จากลูกค้า หากทานเหลือเกิน 200 กรัมจะไม่คืนเงินมัดจำ

00:00:00

  • เสียงข่าวประจำวัน (07-06-2565)

  • สานสัมพันธ์ไทย-จีน (07-06-2565)

  • เสียงคุยกันวันละประเด็น (07-06-2565)

  • เสียงข่าวประจำวัน (06-06-2565)

  • สานสัมพันธ์ไทย-จีน (06-06-2565)

晏梓