โซนระบบนิเวศสีเขียวและโซนเศรษฐกิจสีทอง

2021-01-07 17:41:58 | CRI
Share with:

วันที่ 26 ธันวาคมที่ผ่านมา กฎหมายอนุรักษ์แม่น้ำแยงซีผ่านการพิจารณาตรวจสอบและกลายเป็นกฎหมายว่าด้วยลุ่มแม่น้ำฉบับแรกของจีน ทั้งนี้ หลักการ “ร่วมกันอนุรักษ์ ห้ามบุกเบิกใหญ่” นั้น กลายเป็นหลักประกันทางกฎหมาย “ร่วมกันอนุรักษ์” คือ ให้ท้องที่ต่าง ๆ ในลุ่มน้ำแยงซีร่วมกันใช้ปฏิบัติการให้ลุ่มน้ำตอนต้น ตอนปลาย ลุ่มแม่น้ำสายหลัก ลุ่มแม่น้ำสาขา และลุ่มแม่น้ำทั้งสองฝั่ง ต้องผนึกกำลังผลักดันการอนุรักษ์ระบบนิเวศ ส่งเสริมการปรับปรุงโครงสร้างการพัฒนาเศรษฐกิจให้เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

เขตเศรษฐกิจแม่น้ำแยงซีมีเป้าหมายเป็นพื้นที่เศรษฐกิจแม่น้ำที่มีอิทธิพลระดับโลก โซนที่ภาคตะวันออก ภาคกลาง และภาคตะวันตกร่วมกันพัฒนา เป็นโซนที่เปิดกว้างทั้งภายในและภายนอกที่มีกำลังร่วมกันพัฒนาระหว่างพื้นที่บริเวณตามทะเลและลุ่มแม่น้ำ โซนที่เป็นแบบฉบับการสร้างสรรค์แบบอนุรักษ์ระบบนิเวศ ตลอดจนโซนที่สนับสนุนเศรษฐกิจจีน

ปัจจุบัน เขตดินดอนสามเหลี่ยมแม่น้ำแยงซีที่อยู่ทางภาคตะวันออกและมีนครเซี่ยงไฮ้เป็นศูนย์กลาง เขตตัวเมืองภาคกลางของจีนที่มีเมืองอู่ฮั่นเป็นศูนย์กลาง และเขตเศรษฐกิจเมืองเฉิงตู-นครฉงชิ่งที่อยู่ทางภาคตะวันตกนั้น ต่างเป็นเขตการพัฒนาที่มีชีวิตชีวาตามลุ่มแม่น้ำแยงซีที่มีความยาวประมาณ 6,280 กิโลเมตร เสริมกำลังการพัฒนาอันแข็งแกร่งแก่จีน โดยสามไตรมาสแรกของปี 2020 ที่ผ่านมา 11 เมืองและมณฑลลุ่มแม่น้ำแยงซีมียอดมูลค่าการผลิตเกือบ 47% ของทั้งประเทศ

เขต 11 เมืองและมณฑลดังกล่าวมีประชากรราว 600 ล้านคน มีตลาดที่มีศักยภาพสูง นครเซี่ยงไฮ้ที่เป็นตัวนำทางภาคตะวันออกติดกับมหาสมุทรแปซิฟิกเป็นประตูแห่งการปฏิรูปและเปิดประเทศของจีน เขตเศรษฐกิจเฉิงตู-ฉงชิ่งทางภาคตะวันตกเป็นหนึ่งในจุดเริ่มต้นของเส้นทางรถไฟจีน-ยุโรป รวมไปถึงลุ่มน้ำตอนต้นของแม่น้ำแยงซีซึ่งเชื่อมต่อกับลุ่มแม่น้ำล้านช้าง-แม่น้ำโขงและติดต่อกับเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

ภูมิภาคดังกล่าวมีประชากรจำนวนมาก มีมูลค่าทางเศรษฐกิจมหาศาล และมีความหมายสำคัญต่อระบบนิเวศ ดังนั้น การแสวงหาหนทางการพัฒนาที่มีคุณภาพสูงในภูมิภาคนี้ ควบคู่ไปกับการสร้างโซนระบบนิเทศสีเขียวและโซนเศรษฐกิจสีทอง จึงมีความหมายสำคัญยิ่งในยุคนี้

Tim/Ldan/Zhou

00:00:00

  • เสียงข่าวประจำวัน (07-06-2565)

  • สานสัมพันธ์ไทย-จีน (07-06-2565)

  • เสียงคุยกันวันละประเด็น (07-06-2565)

  • เสียงข่าวประจำวัน (06-06-2565)

  • สานสัมพันธ์ไทย-จีน (06-06-2565)

李丹丹