เที่ยวชมศิลปวัฒนธรรมซินเจียงใต้

2021-04-28 11:21:42 | CRI
Share with:

เที่ยวชมศิลปวัฒนธรรมซินเจียงใต้_fororder_1 拷贝

“อาอีวั่ง” ความงามสถาปัตยกรรมซินเจียงใต้

เขตเหอเถียน อยู่ตอนใต้ของเขตปกครองตนเองอุยกูร์ซินเจียง อำเภอศูนย์กลางคือ อำเภอเมืองเหอเถียน ซึ่งในเขตเมืองเก่า จะมีสถาปัตยกรรมดั้งเดิมแบบซินเจียงใต้แท้ เรียกว่า "อาอีวั่ง"  ซึ่งได้รับการอนุรักษ์และขึ้นทะเบียนเป็นมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติจีนด้วย

คำว่า "อาอีวั่ง" เป็นภาษาอุยกูร์ หมายถึง "อาคารที่สว่างไสว" เพราะตึกรูปทรงดั้งเดิมเหล่านี้จะมีส่วนหลังคาที่โปร่งรับแสง

เที่ยวชมศิลปวัฒนธรรมซินเจียงใต้_fororder_3 拷贝

เที่ยวชมศิลปวัฒนธรรมซินเจียงใต้_fororder_4 拷贝

"กระดาษหม่อน” มรดกภูมิปัญญาจีนในซินเจียงใต้

ตำบลผู่เชี่ยเค่อฉี อำเภอโม่อี้ว์ เขตเหอเถียน ได้รับการขนานนามว่า “หมู่บ้านกระดาษหม่อน” ด้วยมีกรรมวิธีการผลิตกระดาษหม่อนที่สืบทอดมานับพันปี โดยจะนำเปลือกไม้ต้นหม่อนวัตถุดิบสำคัญ มาผ่านขั้นตอนต่างๆ เช่น แช่น้ำ ลอกเปลือกชั้นนอก เคี่ยวต้ม ทุบ

กระดาษหม่อนที่ผ่านกรรมวิธีการผลิตแบบดั้งเดิมนี้ จะมีความเหนียว ป้องกันแมลงกัดแทะ คงทนไม่เปลี่ยนสี ซึ่งเทคนิคผลิตกระดาษหม่อนของซินเจียง ได้ถูกขึ้นทะเบียนเป็นมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติจีนในปี 2006

 

เที่ยวชมศิลปวัฒนธรรมซินเจียงใต้_fororder_5 拷贝

“มัสยิดคู่น่าเสียไหเอ่อร์” ในอำเภอโม่อี้ว์

เมื่อพูดถึงเขตปกครองตนเองชนชาติอุยกูร์ซินเจียง หลายท่านอาจจะคิดว่า ซินเจียงมีชาวอุยกูร์และชาวหุยอาศัยอยู่เท่านั้น แต่ในความเป็นจริงแล้ว ซินเจียงเป็นที่ที่มีชนหลากหลายเผ่าพันธุ์อาศัยรวมกันอยู่มากถึง 55 ชนเผ่าดังนั้น จึงมีความหลากหลายทางวัฒนธรรมและรวมถึงการนับถือศาสนาด้วย

อำเภอโม่อี้ว์ ทางตอนใต้ของเขตซินเจียง ก็มีสัดส่วนชาวอุยกูร์อยู่มากสุดเช่นกัน และส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลาม ทำให้มีมัสยิดพบเห็นได้ในทุกชุมชนหมู่บ้าน

มัสยิดคั่วน่าเสียไหเอ่อร์ เป็นอีกหนึ่งมัสยิดเก่าแก่ที่สร้างขึ้นตั้งแต่ ค.ศ. 1905 ได้รับการบูรณะครั้งใหญ่จากทางการจีนเมื่อ ค.ศ. 1990 และอีกครั้งในปี 2007

เที่ยวชมศิลปวัฒนธรรมซินเจียงใต้_fororder_2 拷贝

 

 

 

 

00:00:00

  • เสียงข่าวประจำวัน (07-06-2565)

  • สานสัมพันธ์ไทย-จีน (07-06-2565)

  • เสียงคุยกันวันละประเด็น (07-06-2565)

  • เสียงข่าวประจำวัน (06-06-2565)

  • สานสัมพันธ์ไทย-จีน (06-06-2565)

何喜玲