หมู่บ้านซีตี้ของมณฑลอันฮุย (๑)

2021-05-20 19:59:32 | สถานีวิทยุและโทรทัศน์ส่วนกลางของจีน
Share with:

ในเมืองหวงซานของมณฑลอันฮุยมีหมู่บ้านโบราณแห่งหนึ่ง ชื่อว่า ซีตี้ ที่มีประวัติศาสตร์กว่า 900 ปีแล้ว แต่เนื่องจากตั้งอยู่ในเขตภูเขาและไม่ได้ผ่านสงคราม ทำให้ทั้งหมู่บ้านไม่ได้ถูกทำลายและไม่ได้รับการบุกเบิกทางธุรกิจมากเกินไป จึงได้รับการรักษาไว้อย่างสมบูรณ์ ได้ขนานนามว่า เป็นหนึ่งในหมูบ้านโบราณที่มีเสน่ห์มากที่สุดของจีน

ข้างนอกหมู่บ้านมีทะเลสาบ น้ำใสจนเห็นใต้ทะเลสาบอย่างชัดเจน บางทีจะมีเป็ดว่ายน้ำและหาปลาเล็กมากิน ประกอบกับภูเขาสีเขียวตามฝั่งทะเลสาบ และสิ่งก่อสร้างแบบโบราณที่อยู่ข้างๆ เหมือนเป็นภาพทิวทัศน์ที่สวยๆ ทุกวันจะมีนักท่องเที่ยวไปไปมามาจำนวนมาก และบางทียังมีนักเรียนวิชาวิจิตรศิลป์มาฝึกวาดภาพที่นี่

ที่ข้างนอกของหมู่บ้านมีซุ้มประตูแห่งหนึ่ง ถือเป็นแลนด์มาร์กของหมู่บ้านซีตี้ก็ว่าได้ มีประวัติมานานกว่า 400 ปีแล้ว  หมู่บ้านซีตี้เป็นเขตชุมชนของตระกูลหู เจ้าของซุ้มประตูชื่อว่า หูเหวินกวง เขาเป็นข้าราชการในสมัยราชวงศ์หมิง ได้ปฏิบัติหน้าที่เพื่อประเทศชาติและประชาชนมากมาย ซุ้มประตูแห่งนี้ก็เป็นสัญลักษณ์เพื่อสรรเสริญบุญคุณของเขา ตัวอักษร “เอินหรง恩荣” สองตัวนี้ หมายถึงซุ้มประตูแห่งนี้ได้รับการอนุญาตจากพระจักรพรรดิ และทั้งตระกูลออกเงินสร้างขึ้น แสดงถึงฐานะอันสูงของเจ้าของ ในช่วงเวลาเกือบ 1000 ปีที่ผ่านมา ซุ้มประตูนี้เป็นผู้ยืนยันการพัฒนาทางประวัติศาสตร์ของหมู่บ้านซีตี้

หมู่บ้านซีตี้ของมณฑลอันฮุย (๑)_fororder_20210518西递上2

ไม่ว่าลายดอกไม้ คนและสัตว์ที่แกะสลักบนซุ้มประตู ล้วนแต่มีความหมายอันลึกซึ้งของมัน ไม่ใช่งานประดับง่ายๆเท่านั้น แต่เป็นลายเครื่องประดับหมวกสำหรับข้าราชการชั้นสูงในสมัยนั้น ซึ่งแต่ละด้านต่างมี 16 อัน รวมแล้วเป็นสัญลักษณ์ที่แสดงว่านายหูเหวินกวงได้รับตำแหน่งข้าราชการชั้นสูงนาน 32 ปีนั่นเอง

จริงๆ แล้ว หมู่บ้านซีตี้มีซุ้มประตูทั้งหมด 13 แห่ง ซึ่งเรียงเป็นแถวยาวที่หน้าหมู่บ้าน ชาวบ้านบอกว่า เมื่อมองจากข้างบน หมู่บ้านซีตี้มีรูปทรงเหมือนเรือ ส่วนซุ้มประตูแถวยาวก็เหมือนใบเรือใหญ่ ทำให้หมู่บ้านซีตี้ดูเหมือนเรือใบขนาดใหญ่

หมู่บ้านซีตี้มีลำธาร 3 สาย ซึ่งไหลจากทิศตะวันออกไปยังตะวันตก เดินตามลำธารลงไป ก็ถือว่าเข้าหมู่บ้านแล้ว

พื้นที่ที่หมู่บ้านซีตี้ตั้งขึ้นนั้น สมัยก่อนเรียกว่า ฮุยโจว ส่วนซุ้มประตูก็เป็นหนึ่งในสามยอดเยี่ยมสำหรับสถาปัตยกรรมฮุยโจวโบราณนั่นเอง อีกสองอย่างคือ บ้านพักและหอบรรพบุรุษ

บ้านพักแบบฮุยโจวมีลักษณะเป็นหนึ่งเดียวกันคือ กำแพงสีขาวและหลังคาสีเทา เนื่องจากขาดแคลนทรัพยากรที่ดิน บ้านเรือนจึงสร้างขึ้นอย่างติดกันใกล้ชิดมาก ไม่ว่าจะเป็นข้าราชการระดับสูง นักธุรกิจที่ร่ำรวยหรือมหาเศรษฐี ก็เช่นเดียวกับชาวบ้านธรรมดา ต้องอยู่ในตรอกซอยอันคับแคบเหล่านี้ด้วยกัน

หมู่บ้านซีตี้ของมณฑลอันฮุย (๑)_fororder_20210518西递上1

สมัยก่อน ผู้ชายส่วนใหญ่จะออกนอกบ้านเพื่อไปทำธุรกิจหรือรับราชการ ส่วนภรรยา ลูกและผู้สูงอายุจะอยู่ที่บ้าน เพื่อรักษาความปลอดภัย กำแพงชั้นนอกของแต่ละบ้านล้วนจะสร้างให้สูงๆ หลังคาสองมุมยื่นออกไปดูเหมือนเป็นหัวม้า ดังนั้นจึงได้ชื่อว่า “กำแพงหัวม้า” หรือ “หม่าโถวเฉียง马头墙” กำแพงหัวม้าที่สูงทำให้ในบ้านไม่ค่อยมีแสงสว่างเข้ามา และเนื่องจากในสมัยโบราณ ผู้หญิงจีนส่วนใหญ่จะไม่ค่อยออกนอกบ้านและไม่ให้คนอื่นเห็นหน้า โดยเฉพาะสาวๆ ที่ยังไม่แต่งงาน จึงมีหน้าต่างเล็กๆ ไม่กี่ด้าน ทำให้ในบ้านยิ่งมืด เพราะฉะนั้น ลักษณะพิเศษอีกอันหนึ่งของบ้านเรือนฮุยโจวก็คือ ข้างบนของบ้านจะไว้ช่องว่างกว้างๆ เพื่อให้แสงเข้ามา จะทำให้ในบ้านสว่างขึ้นนิดหน่อย บ้านเรือนแบบฮุยโจวมีลักษณะคล้ายคลึงกัน ต้องรู้รายละเอียดภายในบ้านจึงจะดูออกได้ว่าฐานะและภูมิหลังของแต่ละบ้าน

ครอบครัวที่มีฐานะหรือร่ำรวย จะตั้งชื่อสวยๆ ให้กับบ้านของตน เช่น บ้านของข้าราชการคนหนึ่งเรียกว่า “ซีหยวน西园” หมายถึงสวนทางทิศตะวันตก ซึ่งได้ออกแบบและประดับเลียนแบบสวนโบราณแห่งซูโจว บนประตูบ้านใหญ่มีหินแกะสลักรูปทรงหลังคา คนท้องถิ่นเรียกว่า “เหมินเจ้า门罩” แปลว่า ฝาครอบประตู นอกจากสามารถกันลมกันฝนได้เท่านั้น ยังสามารถนำมาแสดงถึงสถานภาพและฐานะของเจ้าของบ้านได้อีกด้วย หน้าต่างบานเล็กๆ ในสองข้าง แกะสลักทั้งสองด้านโดยหินอ่อน มีความประณีตมาก ได้ยินมาว่า เมื่อปี 1990 มีคณะชาวญี่ปุ่นมาเข้าชมหมู่บ้านซีตี้ และเสนอจะซื้อหน้าต่างก้อนหินแกะสลักสองด้านนี้ด้วยราคา 100,000 ดอลลาร์สหรัฐฯ แต่ถูกเจ้าของบ้านปฏิเสธ

ในกลางสวนบ้าน มีป้ายหินใหญ่วางไว้ ซึ่งเป็นป้ายหมู่บ้านแต่เดิมของซีตี้ ถูกรื้อถอนตอนสร้างถนนในหมู่บ้าน แต่เจ้าของบ้านรู้สึกน่าเสียดาย ก็เลยขนกลับมาเก็บไว้ที่บ้านจนถึงทุกวันนี้

00:00:00

  • เสียงข่าวประจำวัน (07-06-2565)

  • สานสัมพันธ์ไทย-จีน (07-06-2565)

  • เสียงคุยกันวันละประเด็น (07-06-2565)

  • เสียงข่าวประจำวัน (06-06-2565)

  • สานสัมพันธ์ไทย-จีน (06-06-2565)

崔沂蒙