บทวิเคราะห์ : เหตุใดผู้คาดการณ์เศรษฐกิจจีนว่าถดถอยมักถูกพิสูจน์ว่าผิดเสมอ?

2021-10-19 20:24:59 | ไชน่ามีเดียกรุ๊ป
Share with:

บทวิเคราะห์ : เหตุใดผู้คาดการณ์เศรษฐกิจจีนว่าถดถอยมักถูกพิสูจน์ว่าผิดเสมอ?

เดอะนิวยอร์กไทม์ส รายงานเมื่อเร็ว ๆ นี้ว่า บริษัทลงทุนชั้นนำใน Wall Street มองว่า แนวโน้มทางเศรษฐกิจของจีนดูสดใสกว่าช่วงเวลาใดที่ผ่านมาและตลาดจีนใหญ่เกินกว่าที่จะถูกเพิกเฉย

อันที่จริงการทำความเข้าใจและทำนายเศรษฐกิจของจีนอย่างถูกต้องนั้นเป็นประเด็นที่โลกให้ความสนใจเป็นอย่างมากมาโดยตลอด ช่วงไม่กี่ทศวรรษที่ผ่านมาซึ่งเป็นช่วงที่เศรษฐกิจจีนเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว เสียงที่คาดการณ์ว่าเศรษฐกิจจีนจะล่มสลายนั้นแทบจะไม่เคยหยุด อย่างไรก็ตามเศรษฐกิจจีนยังคงเติบโตและปรับปรุงดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง ความสำเร็จในการพัฒนาเศรษฐกิจของจีนน่าทึ่งอย่างไม่อาจโต้แย้งได้ บรรดาผู้ที่มักมองแง่ลบเกี่ยวกับเศรษฐกิจจีนจึงมักถูกตบหน้าด้วยความเป็นจริงบ่อยครั้ง

บทวิเคราะห์ : เหตุใดผู้คาดการณ์เศรษฐกิจจีนว่าถดถอยมักถูกพิสูจน์ว่าผิดเสมอ?

ข้อเท็จจริงพิสูจน์ให้เห็นว่า จีนมีวิธีการพัฒนาเศรษฐกิจของตนเองและสั่งสมประสบการณ์อันล้ำค่าตลอดหลายปีที่ผ่านมา หากบุคคลในวงการเศรษฐกิจและการเมืองของประเทศตะวันตกยังคงอ่านเศรษฐกิจจีนโดยใช้แนวคิดแบบเดิมและไม่ยอมละทิ้งอคติต่อจีนก็คงยากที่จะเข้าใจเศรษฐกิจจีนในอนาคตอย่างถูกต้อง

จีนยึดแนวทางการพัฒนาเศรษฐกิจที่กำหนดไว้อย่างสม่ำเสมอและสามารถปรับตัวเข้ากับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงได้ จึงสามารถทำให้เศรษฐกิจเติบโตขึ้นอย่างมีประสิทธิภาพ

ในขณะที่โลกกำลังอยู่ระหว่างการเปลี่ยนแปลงอย่างที่ไม่เคยพบเห็นมาก่อนในช่วงศตวรรษที่ผ่านมาและต่อสู้กับการระบาดใหญ่ของโควิด-19 ในเวลาเดียวกัน  จีนไม่เพียงสามารถรักษานโยบายเศรษฐกิจมหภาคให้คงที่ หากยังมุ่งสร้างรูปแบบใหม่แห่งการพัฒนาเศรษฐกิจและส่งเสริมการพัฒนาอย่างมีคุณภาพในระดับสูงขึ้นด้วย ทั้งนี้เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้จีนสามารถกลายเป็นเขตเศรษฐกิจหลักเพียงแห่งเดียวในโลกที่มีการเติบโตทางเศรษฐกิจเชิงบวกในปีที่แล้ว และในช่วงครึ่งแรกของปีนี้เศรษฐกิจจีนได้ขยายตัวสูงถึง 12.7% ความสำเร็จดังกล่าวแสดงให้เห็นถึงการฟื้นตัวอย่างแข็งแกร่งของเศรษฐกิจจีน ตลอดจนสร้างความเชื่อมั่นและแรงผลักดันแก่การฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก

บทวิเคราะห์ : เหตุใดผู้คาดการณ์เศรษฐกิจจีนว่าถดถอยมักถูกพิสูจน์ว่าผิดเสมอ?

นอกจากนี้จีนยังพยายามใช้ประโยชน์จากเครื่องมือเชิงนโยบายเพื่อผลักดันการปฏิรูป ส่งเสริมนวัตกรรม และกระตุ้นแรงผลักดันการพัฒนาใหม่ จีนได้เร่งพัฒนาขีดความสามารถด้านนวัตกรรมทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอย่างต่อเนื่อง เพิ่มประสิทธิภาพการบริการของรัฐบาล และทำให้ห่วงโซ่อุตสาหกรรมห่วงโซ่อุปทานมีเสถียรภาพ เพื่อสนับสนุนภาคเศรษฐกิจจริงได้ดียิ่งขึ้น

เมื่อเร็ว ๆ นี้ หนังสือพิมพ์เหลียนเหอเจ่าเป้าของสิงคโปร์ตีพิมพ์บทวิเคราะห์แสดงความเห็นว่า “จีนมุ่งเน้นการพัฒนาภารกิจภายในประเทศ นี่ไม่ใช่แค่ทางเลือกที่ถูกต้อง แต่ยังเป็นแหล่งที่มาของความแข็งแกร่งสำหรับจีนที่จะรับมือกับแรงกดดันจากภายนอกต่อไปด้วย”

ในโลกที่เชื่อมถึงกันระดับสูงนี้ จีนเชื่อว่าการเล่น "เกมที่ต้องมีแพ้-ชนะ" นั้นไม่สอดคล้องกับผลประโยชน์ขั้นพื้นฐานของประชาคมโลก จึงอุทิศตนอย่างเต็มที่ในการเปิดกว้างและให้ความร่วมมือกับประชาคมโลกมาโดยตลอด เพื่อส่งเสริมการพัฒนาของตนเองผ่านการพัฒนาร่วมกันของประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก

ถึงแม้โลกาภิวัตน์ทางเศรษฐกิจในขณะนี้จะต้องตกอยู่ในภาวะยากลำบากก็ตาม แต่จีนยังคงมีความมุ่งมั่นแข็งแกร่งยิ่งขึ้นในการเปิดประเทศและร่วมมือกับประเทศอื่น ๆ ทั่วโลก เพื่อสร้างเศรษฐกิจโลกที่เปิดกว้าง ในช่วงที่ผ่านมาจีนได้บังคับใช้กฎหมายการลงทุนสำหรับต่างชาติ เปิดภาคการเงินเพิ่มเติมอย่างมีระเบียบ และจัดตั้งแพลตฟอร์มความร่วมมือกับชาติต่าง ๆ ขึ้น เช่น มหกรรมแสดงสินค้านำเข้านานาชาติจีน และงานแสดงสินค้าภาคบริการนานาชาติจีน เพื่อแบ่งปันโอกาสการพัฒนากับประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก

ที่สำคัญยิ่งกว่านี้คือ โครงการหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทางได้รับการชื่นชมจากนานาประเทศว่า เป็นเส้นทางสู่ความมั่งคั่ง นวัตกรรม สุขภาพ และการพัฒนาที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากขึ้น

ทุกวันนี้มีคนจำนวนมากขึ้นเรื่อย ๆ ในทั่วโลกที่เริ่มตระหนักอย่างลึกซึ้งว่า การพัฒนาเศรษฐกิจที่แข็งแกร่งของจีนมีความสำคัญยิ่งต่อเศรษฐกิจโลก และไม่เห็นด้วยกับสิ่งที่เรียกว่าทฤษฎี "การแยกตัวจากจีน" และ "ภัยคุกคามจากจีน"

ตราบใดที่นักการเมือง นักเศรษฐศาสตร์ และสื่อตะวันตกที่มีอคติต่อจีนยังคงยึดติดกับแนวความคิดเดิม พวกเขาก็คงยากที่จะเข้าใจ และคาดการณ์เศรษฐกิจจีนอย่างถูกต้องได้ ทั้งยังจะถูกพิสูจน์ว่า การคาดการณ์ในแง่ลบของพวกเขาที่มีต่อการพัฒนาเศรษฐกิจจีนผิดซ้ำแล้วซ้ำเล่า(tim/cai)

00:00:00

  • เสียงข่าวประจำวัน (07-06-2565)

  • สานสัมพันธ์ไทย-จีน (07-06-2565)

  • เสียงคุยกันวันละประเด็น (07-06-2565)

  • เสียงข่าวประจำวัน (06-06-2565)

  • สานสัมพันธ์ไทย-จีน (06-06-2565)

蔡建新